วันอาทิตย์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561

บทที่ 2 องกรณ์ การจัดการ การตัดสินใจ

      การจัดการ (Management)       
    
          การจัดการ (Management) หรืออาจจะเรียกว่า การบริหาร หรือ การบริหารจัดการ หมายถึง ชุดของหน้าที่ต่าง ๆ ที่กำหนดทิศทางในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทั้งหลายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficient) หมายถึง การใช้ทรัพยากรอย่างเฉลียวฉลาด และคุ้มค่า ส่วนการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิผล (Effective) หมายถึงการตัดสินใจอย่างถูกต้อง และมีการปฏิบัติการได้สำเร็จตามแผนที่กำหนดไว้ ดังนั้น ผลสำเร็จของการจัดการต้องมีทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผลควบคู่กันไป
         
           กระบวนการในการจัดการ

  1. การวางแผน การวางแผนหรือ Planning หมายถึงการพิจารณากำหนดแนวทางการทำงานให้ บรรลุเป้าหมาย โดยเกิดจากการใช้ดุลพินิจคาดการณ์ล่วงหน้าเพื่อเป็นแนวทางการการทำงานในอนาคต
  2. การจัดองค์การ การจัดองค์การหรือ Organizing หมายถึง การจัดระเบียบหรือโครงสร้างของการ ทำงานภายในองค์กรให้เป็นระบบระเบียบและอยู่ในส่วนประกอบที่เหมาะสม เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น
  3. การบังคับบัญชาสั่งการ หรือ Commanding หมายถึง ภาระหน้าที่ของผู้บริหารในการใช้ความสามารถชักจูงหรือหว่านล้อมผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติงานตามคำสั่ง จนสามารถทำให้องค์กรบรรลุผลสำเร็จได้
  4. การประสานงาน หรือ Coordinating หมายถึง การจัดให้ทรัพยากรบุคคลภายในองค์กรทำงานประสานสัมพันธ์สอดคล้องเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน เพื่อให้การดำเนินงานราบรื่นและบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
  5. การควบคุม หรือ Controlling หมายถึง กระบวนการทำงานเริ่มตั้งแต่การกำหนดมาตรฐาน การแก้ไขการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาตลอดจนการดำเนินงานตามแผน และการประเมินแผนเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
           ระดับของผู้บริหาร
  1. ผู้บริหารระดับสูง (Top Manager)  คือ ผู้บริหารที่อยู่ในระดับสูงสุดของสายบังคับบัญชา ทำหน้าที่นำองค์การไปสู่ความสำเร็จ เป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบองค์การทั้งหมดและเป็นผู้กำหนดวัตถุประสงค์และนโยบายสำคัญๆ ให้กับองค์การ ขอบเขตการบริหารจัดการจึงเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่างๆ ในสภาพแวดล้อมภายนอกและปัจจัยต่างๆ ภายในองค์การ  
  2. ผู้บริหารระดับกลาง (Middle Manager) คือ ผู้บริหารที่อยู่ระดับรองลงมาจากผู้บริหารระดับสูง เป็นผู้รับเอาเป้าหมาย นโยบายและแผนงานจากผู้บริหารระดับสูงให้นำไปปฏิบัติ ทำหน้าที่ประสานงานโดยพยายามรวบรวมผลสำเร็จของการทำงานภายในหน่วยงานที่ตนรับผิด ชอบอยู่ ส่งมอบให้กับผู้บริหารระดับที่อยู่สูงถัดขึ้นไป ขณะเดียวกันก็จะคอยร่วมมือช่วยเหลือในการเผชิญและแก้ไขปัญหาที่มากระทบจากภายนอกด้วย ผู้บริหารระดับกลางยังมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการทำงานของผู้บริหารที่อยู่ระดับล่างลงมา
  3. ผู้บริหารระดับต้น (First-line Manager or First-line Supervisor) คือ ผู้บริหารระดับล่างสุด รับผิดชอบการปฏิบัติงานของพนักงานปฏิบัติการ เป็นผู้ใกล้ชิดและสั่งการโดยตรงกับ   พนักงานปฏิบัติการและมีโอกาสรู้ความเป็นไปของปัญหาที่เกิดขึ้นในจุดปฏิบัติงาน  ในบางองค์การ อาจจะมีกำหนดตำแหน่งงานของผู้บริหารระดับต้น เป็น Line Manager  หัวหน้างาน Supervisor  หัวหน้างาน Foreman ผู้นำกลุ่ม (Crew Leader) เป็นต้น  



           บทบาทของผู้บริหารบทบาทมีดังนี้
  1. เป็นผู้นำในด้านความรู้ความสามารถในหลายๆด้าน เพื่อที่จะสามารถสั่งการบุคลากรในหน่วยงานได้และสามารถสั่งสอนเรื่องต่างๆที่บุคลากรไม่มีความเข้าใจในด้านนั้นๆ ติดตามข่าวสารความรู้ด้านต่างๆเพื่อนำมาปรับใช้ในหน่วยงาน
  2. เป็นผู้นำการสั่งการ มีหน้าที่ในการสั่งการให้กับทุกฝ่ายทุกหน่วยงานสามารถดำเนินงานไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมีรูปแบบในการทำงาน และมอบงานให้กับบุคลากรอย่างเหมาะสม
  3. เป็นผู้จัดหาสิ่งต่างๆในการดำเนินงาน จะต้องหาทรัพยากรจากแหล่งต่างๆเพื่อมาดำเนินงานในองค์กร ทรัพยากรนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก
  4. เป็นผู้สร้างความสัมพันธ์อันดีในองค์กร เนื่องจากในองค์กรนั้นต้องมีการสนทนาผู้บริหารต้องเชื่อมความสัมพันธ์ของหน่วยงานและบุคลากรให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันเพื่อการทำงานขององค์กรมีประสิทธิภาพอย่างมากที่สุด

         การใช้สารสนเทศของผู้บริหารระดับต่างๆ

          ผู้บริหารแต่ละระดับ จะมีการนำสารสนเทศไปใช้งานแตกต่างกัน โดยระดับผู้บริหารสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับด้วยกัน คือ
  • ผู้บริหารระดับสูง เป็นระดับวางแผนระยะยาว ควบคุมนโยบาย รวมทั้งการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning) เพื่อไปสู่เป้าหมาย สำหรับแหล่งทรัพยากรหรือสารสนเทศภายในของ
    ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่แล้ว มักเป็นผลสรุปที่สามารถนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจ ในขณะที่แหล่งที่มาของสารสนเทศก็จะมีทั้งสารสนเทศภายในองค์กรและสารสนเทศภายนอกองค์กร
    โดยส่วนใหญ่จะใช้สารสนเทศจากแหล่งภายนอกองค์กรมากกว่า เพื่อนำมาวิเคราะห์หรือประเมินแนวโน้มสถานการณ์เศรษฐกิจของโลก รวมถึงอิทธิพลจากกิจกรรมภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อองค์กร สำหรับสารสนเทศจากแหล่งภายในองค์กรจะพิจารณาถึงสภาพการณ์ด้านการปฏิบัติงานภายในองค์กรเป็นหลักสำคัญ
  • ผู้บริหารระดับกลาง เป็นระดับวางแผนระยะสั้น ด้วยการสั่งการเพื่อควบคุมจัดการ (Management Control) ตามข้อปฏิบัติเพื่อความสำเร็จตามเป้าหมายที่ผู้บริหารระดับสูงวางแผนไว้ ผู้บริหารระดับกลางมักข้องเกี่ยวกับงานจัดการและควบคุมงบประมาณ เวลา และด้าน
    การประเมินผลการทำงาน โดยจะใช้สารสนเทศทั้งจากแหล่งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร แต่ส่วนใหญ่แล้วจะใช้สารสนเทศจากแหล่งภายในมากกว่า
  • ผู้บริหารระดับล่าง เป็นระดับปฏิบัติงาน ซึ่งถือเป็นเครื่องมือการทำงานของผู้บริหารระดับกลางและผู้บริหารระดับสูง สารสนเทศที่ใช้งานของผู้บริหารระดับล่างนั้น มักเป็นเรื่องของภายในที่เน้นรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานหรือการควบคุมการปฏิบัติงาน (Operation Control) เป็นสำคัญ

          การตัดสินใจ (Decision Making) หมายถึงกระบวนการเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่ง จากหลาย ๆ ทางเลือกที่ได้พิจารณา หรือประเมินอย่างดีแล้วว่า เป็นทางให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การ การตัดสินใจเป็นสิ่งสำคัญ และเกี่ยวข้องกับ หน้าที่การบริหาร หรือการจัดการเกือบทุกขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การจัดองค์การ การจัดคนเข้าทำงาน การประสานงาน และการควบคุม การตัดสินใจได้มีการศึกษามานาน
ความหมายของการตัดสินใจ นักวิชาการได้ให้ความหมายไว้แตกต่างกันดังนี้
  • บาร์นาร์ด (Barnard, 1938) ได้ให้ความหมายของการตัดสินใจไว้ว่า คือ "เทคนิคในการที่จะพิจารณาทางเลือกต่างๆ ให้เหลือทางเลือกเดียว"
  • ไซมอน (Simon) ได้ให้ความหมายว่า การตัดสินใจ เป็นกระบวนการของการหาโอกาสที่จะตัดสินใจ การหาทางเลือกที่พอเป็นไปได้ และทางเลือกจากงานต่าง ๆ ที่มีอยู่
  • มูดี (Moody) ได้ให้ความหมายว่า การตัดสินใจเป็นการกระทำที่ต้องทำเมื่อไม่มีเวลาที่จะหาข้อเท็จจริงอีกต่อไป ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ เมื่อใดถึงจะตัดสินใจว่าควรหยุดหาข้อเท็จจริง แนวทางแก้ไขจะเปลี่ยนแปลงไปตามปัญหาที่ต้องการแก้ไข ซึ่งการรวบรวมข้อเท็จจริง เกี่ยวพันกับการใช้จ่ายและการใช้เวลา
  • กิบสันและอิวาน เซวิช (Gibson and Ivancevich) ได้ให้ความหมายของการตัดสินใจไว้ว่า เป็นกระบวนการสำคัญขององค์การ ที่ผู้บริหารจะต้อง กระทำอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลข่าวสาร (information) ซึ่ง ได้รับมาจากโครงสร้างองค์การ พฤติกรรมบุคคล และกลุ่มในองค์การ
  • โจนส์ (Jones) ได้ให้ความหมายของการตัดสินใจองค์การว่าเป็นกระบวนการ ที่จะแก้ไขปัญหาขององค์กร โดยการค้นหาทางเลือก และเลือกทางเลือกหรือแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์การที่ได้กำหนดไว้
            ระดับของการตัดสินใจภายในองค์การ 

             การตัดสินใจสามารถถูกจำแนกให้สอดคล้องกับระดับของการจัดการออกเป็น 3 ระดับ คือ
  1. การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (Strategic Decision Making)  การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง ที่ให้ความสนใจในอนาคต เช่น การกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การ การกำหนดนโยบายและการวางแผนระยะยาว เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยทั่วไปสิ่งแวดล้อมในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือมีความไม่แน่นอน และไม่สามารถกำหนดขั้นตอนการตัดสินใจที่ชัดเจนไว้ล่วงหน้าได้
  2. การตัดสินใจเชิงยุทธวิธี (Tactical Decision Making) การตัดสินใจเชิงยุทธวิธีเป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งจะเกี่ยวกับการจัดการเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ตามที่ผู้บริหารระดับสูงกำหนดไว้ การตัดสินในระดับนี้จะเกี่ยวข้องกับปัญหาในลักษณะแบบกึ่งโครงสร้าง เช่น กาจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ การจัดสรรงบประมาณ การกำหนดการผลิต การกำหนดยุทธวิธีทางการตลาด การวางแผนงบประมาณระยะกลาง และการทำโครงการต่าง ๆ เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
  3. การตัดสินใจเชิงปฏิบัติการ (Operational Decision Making)  การตัดสินใจเชิงปฏิบัติการเป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับปฏิบัติการหรือหัวหน้างานซึ่งเกี่ยวข้องกับงานประจำหรือการปฏิบัติงานเฉพาะด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นกิจวัตรเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสามารถปฏิบัติงานเหล่านั้นได้ตามแผนที่วางไว้อย่างสำเร็จและมีประสิทธิภาพ เช่น การตัดสินใจในกระบวนการสั่งซื้อการควบคุมสินค้าคงคลัง การตัดสินใจในระดับนี้เป็นการตัดสินใจเกี่ยวข้องกับปัญหาลักษณะแบบมีโครงสร้าง ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการต่าง ๆ สามารถกำหนดไว้ล่วงหน้าและทำการตัดสินใจได้โดยอัตโนมัติเนื่องจากจะเป็นปัญหาในเรื่องที่ซ้ำ ๆ กัน ตัวอย่างของการตัดสินใจ เช่น การกำหนดเวลาสั่งสินค้าคงคลังจำนวนวัตถุดิบที่จะสั่งซื้อแต่ละครั้ง การวางแผนเบิกจ่ายวัสดุ และการมอบหมายงานให้พนักงานเป็นรายบุคคล
          ประเภทของการตัดสินใจ
     
         ประเภทของการตัดสินใจมี 3 ประเภท ได้แก่
         การตัดสินใจแบบโครงสร้าง(Structure) บางครั้งเรียกว่าแบบกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว(programmed) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำ จึงมีมาตรฐานในการตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาอยู่แล้ว โดยวิธีการในการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดจะถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เช่น การหาระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสม หรือการเลือกกลยุทธ์ในการลงทุนที่เหมาะสมที่สุด เมื่อมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดหรือเพื่อให้เกิดกำไรสูงสุด การตัดสินใจแบบนี้จึงมักใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์(Mathematical Model) หรือศาสตร์ทางด้านวิทยาการการจัดการ(Management Science) หรือการวิจัยดำเนินงาน(Operation Research) เข้ามาใช้ โดยในบางครั้งอาจนำระบบสนับสนุนการตัดสินใจและระบบผู้เชี่ยวชาญเข้ามาใช้ร่วมด้วย
         ตัวอย่างของการตัดสินใจแบบโครงสร้าง ได้แก่ การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับสินค้าคงคลัง จะต้องสั่งของเข้า(Order Entry)ครั้งละเท่าไร เมื่อใด การวิเคราะห์งบประมาณ(Budget Analysis)ที่ต้องใช้ในการจัดการต่างๆ การตัดสินใจเรื่องการลงทุน จะลงทุนอะไร ที่ตั้งโกดังเก็บสินค้า(Warehouse Location)ควรตั้งที่ไหน, ระบบการจัดส่ง/การจำหน่าย(Distribution System)ควรเป็นอย่างไร เป็นต้น
         การตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง(Unstructure) บางครั้งเรียกว่า แบบไม่เคยกำหนดล่วงหน้ามาก่อน (Nonprogrammed) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาซึ่งมีรูปแบบไม่ชัดเจนหรือมีความซับซ้อน จึงไม่มีแนวทางในการแก้ปัญหาแน่นอน เป็นปัญหาที่ไม่มีการระบุวิธีแก้ไว้อย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง การตัดสินใจกับปัญหาลักษณะนี้ จะไม่มีเครื่องมืออะไรมาช่วย มักเป็นปัญหาของผู้บริหารระดับสูง ต้องใช้สัญชาตญาณ ประสบการณ์ และความรู้ของผู้บริหารในการตัดสินใจ
         ตัวอย่างของการตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง เช่น การวางแผนการบริการใหม่, การว่าจ้างผู้บริหารใหม่เพิ่ม หรือการเลือกกลุ่มของโครงงานวิจัยและพัฒนาเพื่อนำไปใช้ในปีหน้า
         การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semistructure) เป็นการตัดสินใจแบผสมระหว่างแบบโครงสร้างและแบบไม่เป็นโครงสร้าง คือบางส่วนสามารถตัดสินใจแบบโครงสร้างได้ แต่บางส่วนไม่สามารถทำได้ โดยปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างนี้ จะใช้วิธีแก้ปัญหาแบบมาตรฐานและการพิจารณาโดยมนุษย์รวมเข้าไว้ด้วยกัน คือมีลักษณะเป็นกึ่งโครงสร้าง แต่มีความซับซ้อนมากขึ้น ขั้นตอนจึงไม่ชัดเจนว่า จะมีขั้นตอนอย่างไร ปัญหาบางส่วนเขียนเป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ได้ แต่ปัญหาบางส่วนไม่สามารถเขียนออกมาในรูปของแบบจำลองได้
        ตัวอย่างการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง เช่น การทำสัญญาทางการค้า, การกำหนดงบประมาณทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์

        กระบวนการในการตัดสินใจ

การตัดสินใจ คือ ขบวนการในการเลือก ทางเลือกในการปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซึ่งในปัจจุบันทุกองค์กรต่างก็ต้องทำการตัดสินใจทั้งสิ้น โดยในการดำเนินงานภายในองค์กรต่างก็ต้องเผชิญปัญหาต่างๆ มากมาย ในการแก้ปัญหาเหล่านั้นต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ และตัวแปรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในการแก้ปัญหานั้นอาจมีวิธีที่เป็นไปได้หลายทาง จึงจำเป็นต้องทำการตัดสินใจเลือกทางเลือกในการแก้ปัญหาที่เหมาะสม หรือเพื่อให้เป็น ไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรที่ได้วางไว้มากที่สุด
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าการตัดสินใจนั้นเป็นขบวนการหนึ่งในการแก้ปัญหา โดยขบวนการในการ แก้ปัญหานั้นประกอบด้วย
  1. การกำหนดปัญหา (Intelligent Phase) เป็นขั้นตอนในการกำหนดหรือนิยามปัญหาที่เกิดขึ้น
  2. การออกแบบ (Design Phase) เป็นขั้นตอนในการสร้างตัวแบบเพื่อแทนตัวระบบจริง ตั้งสมมติฐานและเขียนความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งหมด กำหนดเงื่อนไขแบบต่างๆ และทำการพัฒนาทางเลือกต่างๆ ขึ้น
  3. การเลือก (Choice Phase) เป็นขั้นตอนในการเลือกชุดของทางเลือกที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหา และ ทำการทดลองกับทางเลือกนั้นก่อน และเลือกทางที่สมเหตุสมผลที่สุด
  4. การนำไปปฏิบัติ (Implementation Phase) เป็นขั้นตอนในการนำทางเลือกที่เลือกไว้มาปฏิบัติจริงเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
  5. การตรวจสอบ (Monitoring Phase) เป็นขั้นตอนที่ผู้ตัดสินใจทำการประเมินผลของทางเลือกที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา


            องค์การ (Organization) เป็นคำนิยามของการรวมตัวกันอย่างเป็นระบบ หรือบางที่ให้คำจำกัดความว่า เป็นการจัดการที่มีการร่วมมือและประสานงานกัน ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเพื่อให้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์เฉพาะอย่างที่ตั้งไว้ โดยมีการใช้อำนาจการบริหารที่ชัดเจนมีการแบ่งงานและหน้าที่ มีลำดับขั้นของการบังคับบัญชาและความรับผิดชอบ
การจะทำความเข้าใจคำว่าองค์การนั้น ถ้าดูที่การแบ่งประเภทขององค์การจะทำให้เข้าใจดีขึ้น เช่น
  1. องค์การทางสังคม ครอบครัว สถาบันการศึกษาทุกระดับ โรงเรียน มหาวิทยาลัย  สถาบันศาสนา วัด ศูนย์ปฏิบัติธรรม สถาบัน กลุ่ม ชมรม มูลนิธิ ฯลฯ ที่ตั้งขึ้นเพื่อกิจการเฉพาะอย่างแต่มุ่งประโยชน์ในระดับสังคม
  2. องค์การทางราชการ ทุกระบบที่เป็นส่วนราชการ ระดับกระทรวง ทบวง กรม
  3. องค์การเอกชน เช่น บริษัทห้างร้านที่ตั้งขึ้นมาด้วยรูปแบบต่างๆ เพื่อมุ่งหากำไรเป็นสำคัญ ลักษณะขององค์การทางธุรกิจนั้น แบ่งได้เป็น

          WHAT ISTHE IMPACT OF INFORMATION  SYSTEMS ON ORGANIZATIONS?
  1. ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
  2. ไอทีมีการเปลี่ยนแปลงทั้งต้นทุน ค่าของเงินทุนและค่าใช้จ่ายของข้อมูล เทคโนโลยีสารสนเทศยัง  สามารถลดต้นทุนการทำธุรกรรมสำหรับ บริษัท และการจัดการภายในค่าใช้จ่าย เราควรคาดหวังว่าขนาดของ บริษัท จะหดตัวเมื่อเวลาผ่านไปมีการลงทุนด้านไอทีมากขึ้น บริษัท ควรมีจำนวนน้อยลงผู้จัดการและเราคาดว่าจะเห็นรายได้ต่อพนักงานเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป
  3. ผลกระทบขององกรณ์และผลกระทบทางพฤติกรรมระบบสารสนเทศสามารถลดจำนวนระดับใน องค์กรโดยการให้ข้อมูลแก่ผู้จัดการดูแลคนงานจำนวนมากและโดยการให้พนักงานระดับล่างมีอำนาจใจการตัดสินใจ

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2561

บทที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศ โครงสร้างพื้นฐาน



โครงสร้างพิ้นฐาน
          โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีประกอบด้วยชุดอุปกรณ์ทางกายภาพและแอพพลิเคชันซอฟต์แวร์ที่ต้องใช้งานทั้งองค์กร แต่โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทียังเป็นชุดของการให้บริการที่ครอบคลุมโดยฝ่ายบริหารและประกอบด้วยความสามารถของมนุษย์และด้านเทคนิค รวมถึงบริการเหล่านี้:
          บริการซอฟต์แวร์แอพพลิเคชันรวมถึงซอฟต์แวร์ออนไลน์บริการที่ให้ความสามารถในระดับองค์กรเช่น การวางแผนทรัพยากรองค์กรความสัมพันธ์กับลูกค้า การจัดการการจัดการห่วงโซ่อุปทานและความรู้ระบบการจัดการที่ทุกธุรกิจใช้ร่วมกัน
         บริการโทรคมนาคมที่ให้ข้อมูล, เสียง,และการเชื่อมต่อวิดีโอกับพนักงานลูกค้าและผู้ผลิตสินค้า
         บริการจัดการข้อมูลที่จัดเก็บและจัดการข้อมูลขององค์กรและให้มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล
         บริษัทที่มีความสามารถในการให้บริการกับลูกค้า,ผู้ผลิตและพนักงานโดยตรงของ IT
โครงสร้างพื้นฐานนี้ควรสนับสนุนธุรกิจและระบบสารสนเทศของ บริษัท ใหม่เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบอย่างมากต่อธุรกิจและกลยุทธ์ด้านไอทีตลอดจนบริการที่สามารถให้ได้
กับลูกค้า


การประมวลผมแบบcloud

         การประมวลผลแบบกลุ่มเมฆนั้น ถูกอธิบายถึงโมเดลรูปแบบใหม่ของเทคโนโลยีสารสนเทศในการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตที่เน้นการขยายตัวได้อย่างยืดหยุ่น สามารถที่จะปรับขนาดได้ตามความต้องการของผู้ใช้ และมีการจัดสรรทรัพยากรโดยเน้นการทำงานระยะไกลอย่างง่าย ที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นโครงสร้างพื้นฐานตัวอย่างของการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆที่เป็นที่รู้จัก เช่น ยูทูบ โดยที่ผู้ใช้สามารถเก็บวิดีโอออนไลน์ได้ โดยไม่ต้องมีความรู้ในการสร้างระบบวิดีโอออนไลน์ หรือในระบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆ เป็นต้น

ประวัติความเป็นมา

         cloud computing เชื่อว่าจะได้รับการคิดค้นโดย Joseph Carl Robnett Licklider ในปี 1960 กับการทำงานของเขาใน ARPANET เพื่อเชื่อมโยงผู้คนและข้อมูลจากทุกที่ทุกเวลา แต่ Kurt Vonnegut กล่าวถึงในหนังสือSirens of Titan (1959) ของเขา กล่าวถึงคลาวด์ว่า “เป็นการลดภาระสำหรับทุกคน” ในปี 1994 AT&T เปิดตัว PersonaLink บริการแพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับการสื่อสารส่วนบุคคลและธุรกิจและผู้ประกอบการการจัดเก็บข้อมูล เป็นหนึ่งในคนแรกๆ ที่จะเป็นการบริการโดยมีพื้นฐานจากเว็บ และการอ้างอิงในโฆษณาของพวกเขาบอกว่า “คุณสามารถคิดถึงสถานประชุมอิเล็กทรอนิกส์ของเราว่าเป็นเมฆ” Amazon Web Services เปิดตัวบริการการจัดเก็บข้อมูลของพวกเขาบนเมฆ AWS S3 ในปี 2006 และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและการยอมรับเป็นผู้จัดจำหน่ายการจัดเก็บข้อมูลของการบริการที่เป็นที่นิยมเช่น Smugmug, Dropbox และ Pinterest .

สถาปัตยกรรม

         การจัดเก็บข้อมูลบนเมฆ มีโครงสร้างพื้นฐานแบบเสมือนชั้นสูง และมีขอบเขตกว้างเหมือน ระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ ในแง่ของการติดต่อที่สามารถเข้าถึงอย่างยืดหยุ่น เหมือนอยู่ใกล้ๆ ขยายขีดความสามารถได้, ใช้ร่วมกันได้ และตรวจวัดทรัพยากรที่มีได้ บริการจัดเก็บเมฆสามารถนำไปใช้ประโยชน์จากบริการนอกสถานที่ (Amazon S3) หรือนำไปใช้ในสถานที่ (ViON)         การจัดเก็บข้อมูลบนเมฆ มักจะหมายถึงเป็นเจ้าภาพการบริการจัดเก็บวัตถุทางอิเล็คทรอนิคส์ แต่คำนี้ปัจจุบันได้มีการขยายความหมายเพื่อรวมประเภทอื่นๆ ของการจัดเก็บข้อมูลที่ด้านบริการ เช่น ที่เก็บบล็อก (บริการฝากข้อความสนทนากลุ่ม)         บริการจัดเก็บวัตถุเช่น Amazon S3 และ Microsoft Azure, การจัดเก็บข้อมูลวัตถุของซอฟต์แวร์ เช่น OpenStack Swift, ระบบจัดเก็บข้อมูลของวัตถุ เช่น EMC Atmos และ Hitachi Content Platform, และข้อมูลการวิจัยด้านธุรกิจการค้า เช่น OceanStore และเมฆเสมือน เป็นตัวอย่างของการจัดเก็บข้อมูล ที่สามารถเป็นเจ้าภาพและนำไปใช้กับลักษณะการจัดเก็บเมฆ
การจัดเก็บเมฆ
  1. สร้างขึ้นจากทรัพยากรจำนวนมาก แต่ยังคงทำหน้าที่เสมือนเป็นหนึ่งเดียว – มักเรียกกันว่าการจัดเก็บข้อมูลเมฆส่วนกลาง
  2. ลดความซ้ำซ้อนและการกกระจัดกระจายของข้อมูล
  3. รองรับการสร้างข้อมูลพร้อมกันหลายคนในแฟ้มเดียวกัน
  4. สามารถกำหนดขั้นตอนการเห็นชอบของเอกสารได้

ข้อดี

  1. บริษัท ต้องจ่ายเฉพาะเท่าที่มีการใช้การจัดเก็บที่พวกเขาใช้งานจริง โดยทั่วไปเฉลี่ยของการใช้งานในช่วงเดือน นี่ไม่ได้หมายความว่าการจัดเก็บเมฆที่มีราคาแพงน้อยเพียงว่ามันเกิดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมากกว่าค่าใช้จ่ายเงินทุน
  2. องค์กรสามารถเลือกระหว่างการใช้งานเมฆ และหรือระบบออฟไลน์ เพื่อการจัดเก็บหรือ ใช้ทั้งสองตัวเลือก ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเลือกเมื่อแรกสมัครใช้งาน การประหยัดค่าใช้จ่ายโดยตรงที่อาจเกิดขึ้นตัวอย่างเช่นความต่อเนื่องของการดำเนินงาน, การกู้คืนระบบ, การรักษาความปลอดภัย และบันทึกการเก็บรักษาตามกฎหมาย กฎระเบียบและนโยบาย
  3. ความสามารถใจการจัดเก็บและป้องกันข้อมูลคิดตามข้อมูลที่ใช้จริง เช่นเดียวกับการใช้โปรแกรมประยุกต์ เทคโนโลยีที่บริการเพิ่ม ค่าใช้จ่ายสามารถเลือกเพิ่มลดตามความต้องการ
  4. งานบำรุงรักษาจัดเก็บข้อมูล เช่น การซื้อความจุที่เพิ่มขึ้น เป็นความรับผิดชอบของผู้ให้บริการ
  5. การจัดเก็บข้อมูลแบบคลาวด์ ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงได้ทันทีได้หลากหลาย ตามทรัพยากรและการใช้งานที่เป็นผู้ให้บริการซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรอื่น ผ่านบริการทางอินเตอร์เว็บ
  6. การจัดเก็บบนเมฆ สามารถใช้สำหรับการคัดลอกภาพจากเครื่องเสมือนเมฆออนไลน์ หรือนำเข้าภาพเสมือนนอกจากนี้การจัดเก็บเมฆสามารถใช้ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างบัญชีผู้ใช้กับระหว่างศูนย์ข้อมูล
  7. การจัดเก็บข้อมูลแบบคลาวด์ที่สามารถใช้เป็นการสำรองข้อมูลกรณีภัยพิบัติทางธรรมชาติ ปกติมี 2 หรือ 3 เซิร์ฟเวอร์สำรองข้อมูล ที่ตั้งอยู่สถานที่แตกต่างกัน อยู่ในสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก

ความเสี่ยงต่อการโจมตีการจัดเก็บข้อมูลจากบุคคลภายนอกองค์กร

  1. เมื่อข้อมูลมีการกระจายการเก็บไว้ในสถานที่อื่นๆ อีกมากมายเพิ่มความเสี่ยงของการเข้าถึงทางกายภาพไม่ได้รับอนุญาตไปยังข้อมูล ยกตัวอย่างเช่น ในสถาปัตยกรรมเมฆตามข้อมูลที่ถูกจำลองแบบและย้ายบ่อยดังนั้น ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นของการกู้คืนข้อมูลที่ไม่ได้รับอนุญาตอย่างมาก (เช่นการใช้อุปกรณ์เก็บข้อมูลเก่านำมาใช้ใหม่, การจัดสรรพื้นที่จัดเก็บ) ลักษณะที่ข้อมูลที่ถูกจำลองขึ้นอยู่กับระดับการให้บริการลูกค้าเลือกและการ บริการที่มีให้ ผู้ขายบริการบนเมฆที่แตกต่างกันมีระดับการให้บริการที่แตกต่างกันความเสี่ยงของการเข้าถึงข้อมูลจะลดลงผ่านการใช้การเข้ารหัสลับซึ่งสามารถนำ ไปใช้กับข้อมูลที่เป็นส่วนหนึ่งของการให้บริการจัดเก็บหรือในสถานที่อุปกรณ์ ที่เข้ารหัสข้อมูลก่อนที่จะอัปโหลดไปยังเมฆ
  2. จำนวนของคนที่มีการเข้าถึงข้อมูลที่สามารถถูกบุกรุก (เช่น มีการติดสินบน หรือข่มขู่) เพิ่มขึ้นอย่างมากบริษัท เดียวอาจมีทีมงานเล็กๆ มีผู้บริหารวิ ศวกรเครือข่าย และช่างเทคนิค แต่บริษัท จัดเก็บเมฆจะมีลูกค้าจำนวนมากและ เซิร์ฟเวอร์หลายพันเครื่อง ดังนั้นทีมต้องดูแลข้อมูลขนาดใหญ่กว่าความสามารถของเจ้าหน้าที่เทคนิคที่มีการเข้าถึงทางกายภาพ และทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดูแลเกือบทั้งหมดของข้อมูลและการสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมด หรืออาจจะเป็นทั้งบริษัทคีย์การเข้ารหัสลับที่ถูกเก็บไว้โดยผู้ใช้บริการ เมื่อเทียบกับขีดจำกัด ของผู้ให้บริการการเข้าถึงข้อมูลโดยพนักงานผู้ให้บริการได้
  3. ด้วยการเพิ่มจำนวนของเครือข่าย ซึ่งข้อมูลมีการเดินทาง แทนที่จะเป็นเพียงแค่เครือข่ายท้องถิ่น (LAN) หรือเครือข่ายพื้นที่จัดเก็บข้อมูล (SAN) ข้อมูลที่เก็บไว้บนเมฆต้องการ WAN (เครือข่ายบริเวณกว้าง) เพื่อเชื่อมต่อทั้งสองระบบ
  4. โดยการจัดเก็บข้อมูลและเครือข่ายร่วมกันกับจำนวนผู้ใช้อื่นๆ เป็นไปได้สำหรับลูกค้ารายอื่นๆ ในการเข้าถึงข้อมูลของคุณ บางครั้งเพราะการกระทำที่ผิดพลาด, อุปกรณ์ผิดพลาด, ข้อผิดพลาดและบางครั้งเพราะเจตนาทางอาญา ความเสี่ยงนี้จะใช้กับทุกประเภทของการจัดเก็บและไม่เพียง แต่การจัดเก็บเมฆ ความเสี่ยงของการมีการอ่านข้อมูลในระหว่างการส่งจะลดลงด้วยเทคโนโลยีการเข้ารหัสลับ การเข้ารหัสลับในการขนส่งช่วยปกป้องข้อมูลที่มันจะถูกส่งไปยังและจากการให้บริการคลาวด์ การเข้ารหัสในส่วนที่เหลือจะช่วยปกป้องข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ที่ผู้ให้บริการ การเข้ารหัสข้อมูลในการให้บริการคลาวด์ เป็นการเพิ่มระบบที่สามารถให้บริการทั้งสองประเภทของการป้องกันการเข้ารหัส

ความมั่นคงผู้ให้บริการ

บริษัท ไม่ได้ถาวร และบริการและผลิตภัณฑ์ที่พวกเขาให้สามารถเปลี่ยนผู้ให้บริการการจัดเก็บข้อมูลไปยังบริษัทอื่น ต้องตรวจสอบอย่างรอบคอบและไม่มีอะไรที่ทำได้เหมือนเคย ข้อมูลอาจไม่สามารถใช้งานได้ เมื่อบริษัทสิ้นสุดสภาพการมีอยู่หรือสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง บริษัท สามารถ:
  1. เจ๊ง
  2. ขยายกิจการและเปลี่ยนเป้าหมายทางการค้าของพวกเขา
  3. ถูกซื้อโดย บริษัทขนาดใหญ่อื่นๆ
  4. มีการจัดซื้อโดยบริษัทหรือสำนักงานใหญ่ย้าย ไปยังประเทศที่ขัดแย้งกับธุรกิจของคุณ
  5. ประสบภัยพิบัติเรียกคืนไม่ได้
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ cloud การประมวลผล

          สถานภาพด้านอุปกรณ์ ICT โดยการพิจารณาโครงสร้างพื้นฐานไอที สามารถแบ่งออกได้เป็นส่วนๆ ได้แก่โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีภายใน เช่น ด้านอุปกรณ์ ซอฟต์แวร์ และโครงข่ายด้าน ICT ต้องพิจารณาในส่วนต่างๆ คือ
  1. อุปกรณ์พื้นฐาน ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่อง Server เครื่องพิมพ์ เครื่องควบคุมการสื่อสารข้อมูล รวมทั้งระบบซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เช่น ระบบควบคุมปฏิบัติงาน ระบบบริหารฐานข้อมูล และอื่น ๆ
  2. ระบบไอทีที่บริการให้ใช้ร่วมกันทั้งองค์กร (Shared IT Services) เป็นการนำกลุ่มอุปกรณ์พื้นฐานมาจัดทำให้เป็นรูประบบที่สามารถบริการได้ เช่น ระบบฐานข้อมูลลูกค้า หรือฐานข้อมูลพนักงานที่แบ่งกันใช้ได้ หรือระบบอินทราเน็ตที่ให้พนักงานใช้บริการสื่อสารและค้นหาข้อมูลได้ทั่วทั้งองค์กร เป็นการเพิ่มระบบซอฟต์แวร์พื้นฐาน ทำให้อุปกรณ์พื้นฐานให้บริการไอทีที่ใช้ร่วมกันได้
  3. ระบบงานที่ให้บริการด้วยงานมาตรฐานที่จำเป็นต้องใช้ทั้งองค์กร เช่น ระบบบัญชี ระบบบริหารบุคลากร ระบบบริหารงบประมาณ เป็นระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ที่ทุกหน่วยงานจำเป็นต้องใช้ ระบบงานเหล่านี้ จัดเป็นระบบงานของส่วนกลางที่ให้ใช้ร่วมกัน (Shared and Standard IT Applications) เป็นการเพิ่มชั้นแอปพลิเคชัน เพื่อทำงานเฉพาะทางขององค์กร

วิวัฒนาการของเทคโนโลยี
          เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการสารสนเทศมากที่สุด คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีวิวัฒนาการการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ดังนี้             
  • ยุคที่ 1 การประมวลผลข้อมูลใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลของงานประจำ  เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลกร            
  • ยุคที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจดำเนินการ ควบคุม ติดตามผล และวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่างๆ            
  • ยุคที่ 3 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศการใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเน้นถึงการใช้สารสนเทศที่จะช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ             
  • ยุคที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศหรือยุคไอทีความเจริญของเทคโนโลยีมีสูงมาก มีการขยายขอบเขตการประมวลผลข้อมูลไปสู่การสร้างและการผลิตสารสนเทศทำให้สามารถสร้างทางเลือกและรูปแบบใหม่ของสินค้าและบริการ โดยการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นวัตถุประสงค์สำคัญ




        


วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561

บทที่4 ฐานข้อมูลและระบบข้อมูล


Database
          
          Database หรือ ฐานข้อมูล คือ กลุ่มของข้อมูลที่ถูกเก็บรวบรวมไว้ โดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยไม่ได้บังคับว่าข้อมูลทั้งหมดนี้จะต้องเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลเดียวกันหรือแยกเก็บหลาย ๆ แฟ้มข้อมูล
          ระบบฐานข้อมูล (Database System) คือ ระบบที่รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกันเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบมีความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่าง ๆ ที่ชัดเจน ในระบบฐานข้อมูลจะประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลหลายแฟ้มที่มีข้อมูล เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันเข้าไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบและเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถใช้งานและดูแลรักษาป้องกันข้อมูลเหล่านี้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีซอฟต์แวร์ที่เปรียบเสมือนสื่อกลางระหว่างผู้ใช้และโปรแกรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ฐานข้อมูล เรียกว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล หรือ DBMS (database management system)มีหน้าที่ช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ง่ายสะดวกและมีประสิทธิภาพ การเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้อาจเป็นการสร้างฐานข้อมูล การแก้ไขฐานข้อมูล หรือการตั้งคำถามเพื่อให้ได้ข้อมูลมา โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้เกี่ยวกับรายละเอียดภายในโครงสร้างของฐานข้อมูล 


วิวัฒนาการของ database


          Database ถูกพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ปี 1960 เริ่มต้นจาก hierarchical และ network databases จนมาถึงปี 1980 มีการนำเอา object-oriented-databases (OODBMS) มาใช้งาน ซึ่งเป็นพื่นฐานของระบบ relation database ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ในอีกมุมหนึง เราสามารถจัดแบ่งประเภทของ database ตามรูปแบบของชนิดข้อมูลได้ เช่น ตัวเลข,ตัวอักษร หรือ รูปภาพ บางครั้งก็อาจจะแบ่งตามความนิยมของ relational database เช่น distributed database, cloud database หรือ NoSQL database.
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ database
หน้าที่ของระบบการจัดการฐานข้อมูล
  1. แปลงคำสั่งที่ใช้จัดการกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล ให้อยู่ในรูปแบบที่ฐานข้อมูลเข้าใจ
  2. นำคำสั่งต่าง ๆ ซึ่งได้รับการแปลแล้ว ไปสั่งให้ฐานข้อมูลทำงาน เช่น การเรียกใช้ (Retrieve) จัดเก็บ (Update) ลบ (Delete) เพิ่มข้อมูล (Add) เป็นต้น
  3. ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล โดยจะคอยตรวจสอบว่าคำสั่งใดที่สามารถทำงานได้ และคำสั่งใดที่ไม่สามารถทำงานได้
  4. รักษาความสัมพันธ์ของข้อมูลภายในฐานข้อมูลให้มีความถูกต้องอยู่เสมอ
  5. เก็บรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลภายในฐานข้อมูลไว้ในพจนานุกรมข้อมูล (Data Dictionary) ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้มักจะถูกเรียกว่า เมทาดาต้า (MetaData) ซึ่งหมายถึง "ข้อมูลของข้อมูล"
  6. ดูแลการใช้งานให้กับผู้ใช้ ในการติดต่อกับตัวจัดการระบบแฟ้มข้อมูลได้ โดยจะทำหน้าที่ติดต่อกับระบบแฟ้มข้อมูลซึ่งเสมือนเป็นผู้จัดการแฟ้มข้อมูล (file manager) นำข้อมูลจากหน่วยความจำสำรองเข้าสู่หน่วยความจำหลักเฉพาะส่วนที่ต้องการใช้งาน และทำหน้าที่ประสานกับตัวจัดการระบบแฟ้มข้อมูลในการจัดเก็บ เรียกใช้ และแก้ไขข้อมูล
  7. ควบคุมการใช้ข้อมูลพร้อมกัน (Concurrency Control) ในระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ปัจจุบัน โปรแกรมการทำงานมักจะเป็นแบบผู้ใช้หลายคน (Multi User) จึงทำให้ผู้ใช้แต่ละคนสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้พร้อมกัน ระบบจัดการฐานข้อมูลที่มีคุณสมบัติควบคุมการใช้ข้อมูลพร้อมกันนี้ จะทำการควบคุมการใช้ข้อมูลพร้อมกันของผู้ใช้หลายคนในเวลาเดียวกันได้ โดยมีระบบการควบคุมที่ถูกต้องเหมาะสม เช่น ถ้าการแก้ไขข้อมูลนั้นยังไม่เรียบร้อย ผู้ใช้อื่นๆ ที่ต้องการเรียกใช้ข้อมูลนี้จะไม่สามารถเรียกข้อมูลนั้นๆ ขึ้นมาทำงานใดๆ ได้ ต้องรอจนกว่าการแก้ไขข้อมูลของผู้ที่เรียกใช้ข้อมูลนั้นก่อนจะเสร็จเรียบร้อย จึงจะสามารถเรียกข้อมูลนั้นไปใช้งานต่อได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการเรียกใช้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
  8. ควบคุมระบบความปลอดภัยของข้อมูลโดยป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาเรียกใช้หรือแก้ไขข้อมูลในส่วนป้องกันเอาไว้ พร้อมทั้งสร้างฟังก์ชันในการจัดทำข้อมูลสำรอง
  9. ควบคุมการใช้ข้อมูลในสภาพที่มีผู้ใช้พร้อม ๆ กันหลายคน โดยจัดการเมื่อมีข้อผิดพลาดของข้อมูลเกิดขึ้

ประโยชน์ของฐานข้อมูล

  1. ลดการเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อน ข้อมูลบางชุดที่อยู่ในรูปของแฟ้มข้อมูลอาจมีปรากฏอยู่หลาย ๆ แห่ง เพราะมีผู้ใช้ข้อมูลชุดนี้หลายคน เมื่อใช้ระบบฐานข้อมูลแล้วจะช่วยให้
    ความซ้ำซ้อนของข้อมูลลดน้อยลง
  2. รักษาความถูกต้องของข้อมูล เนื่องจากฐานข้อมูลมีเพียงฐานข้อมูลเดียว ใน
    กรณีที่มีข้อมูลชุดเดียวกันปรากฏอยู่หลายแห่งในฐานข้อมูล ข้อมูลเหล่านี้จะต้องตรงกัน ถ้ามีการ
    แก้ไขข้อมูลนี้ทุก ๆ แห่งที่ข้อมูลปรากฏอยู่จะแก้ไขให้ถูกต้องตามกันหมดโดยอัตโนมัติด้วย
    ระบบจัดการฐานข้อมูล
  3. การป้องกันและรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลทำได้อย่างสะดวก การป้องกันและรักษาความปลอดภัยกับข้อมูลระบบฐานข้อมูลจะให้เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ซึ่งก่อให้เกิด
    ความปลอดภัย(security) ของข้อมูลด้วย
ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
          ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ นั้นหมายความว่า จะมีการจัดเก็บข้อมูลในลักษณะที่เป็นกลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ในฐานข้อมูลหนึ่งๆ สามารถที่จะมีตารางตั้งแต่ 1 ตารางเป็นต้นไป และในแต่ละตารางนั้นก็สามารถมีได้หลายคอลัมน์ (Column) หลายแถว (Row) ตัวอย่างเช่น เราต้องการเก็บข้อมูลพนักงาน ในตารางของข้อมูลพนักงานก็จะประกอบด้วยคอลัมน์ ที่อธิบายชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เงินเดือน แผนกที่สังกัด เป็นต้น และในตารางนั้น ก็สามารถที่จะมีข้อมูลพนักงานได้มากกว่า 1 คน (Row) และตารางข้อมูลพนักงานนั้นอาจจะมีความสัมพันธ์กับตารางอื่น เช่น ตารางที่เก็บชื่อและจำนวนบุตรของพนักงานฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ถูกออกแบบมาเพื่อลดความซ้ำซ้อนของการเก็บข้อมูล และสามารถเรียกใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีหลักดังนี้
  1. ตารางจะต้องมีชื่อไม่ซ้ำกัน
  2. แต่ละฟิลด์จะบรรจะประเภทข้อมูลเพียงชนิดเดียวเท่านั้นแน่นอน
  3. ข้อมูลในแต่ละเรคอร์ดจะต้องไม่ซ้ำกัน
    นอกจากนี้แต่ละตารางยังสามารถเริยกได้อีกอย่างว่ารีเลชัน (Relation) แถวแต่ละแถวภายในตารางเรียกว่าทูเปิล (Tuple) และคอลัมน์เรียกว่าแอททริบิวต์ (Attribute)

จุดเด่นของข้อมูลเชิงสัมพันธ์
  1. ง่ายต่อการเรียนรู้ และการนำไปใช้งาน ทำให้เห็นภาพข้อมูลชัดเจน
  2. ภาษาที่ใช้จัดการข้อมูลเป็นแบบซีเควล ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงเข้าใจง่าย
  3. การออกแบบระบบมีทฤษฎีรองรับ สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้

ระบบจัดการฐานข้อมูลที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน
  1. ออราเคิล (Oracle)
  2. ไมโครซอฟท์ เอสคิวแอล เซิร์ฟเวอร์ (Microsoft SQL Server)
  3. มายเอสคิวแอล (MySQL)
  4. ไมโครซอฟต์ แอคเซส (Microsoft Access)
  5. ไอบีเอ็ม ดีบีทู (IBM DB/2)
  6. ไซเบส (Sybase)
  7. PostgreSQL
  8. Progress
  9. Interbase
  10. Firebird
  11. Pervasive SQL
  12. แซพ ดีบี (SAP DB)
ระบบธุรกิจอัจฉริยะ


          ระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence) เริ่มเข้ามามีบทบาทอย่างกว้างขวางในหลายๆ สาขาอาชีพทั้งภาครัฐและเอกชน เนื่องจากสภาพการแข่งขันทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้องค์กรต่างๆ ต้องแบกรับความกดดันในการวางแผนกลยุทธ์ที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ขององค์กร และด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปก็เป็นการบังคับให้องค์กรเหล่านั้นเห็นความสำคัญกับการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มมากขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการตัดสินใจในการตอบสนองต่อสภาพการแข่งขันดังกล่าว ทั้งนี้หากมองถึงปัจจัยสภาพแวดล้อมทางธุรกิจจะพบว่ามีปัจจัยหลักๆ อยู่ 3 ประการ คือ
  1. สภาพการตลาดที่มีการแข่งขันกันสูงมากขึ้น มีคู่แข่งในการทำธุรกิจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมากมาย ถ้าองค์กรเป็นผู้นำตลาด ก็จะมีคู่แข่งที่พยายามจะแย่งส่วนแบ่งการตลาด โดยมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาดทั้งในด้านของสินค้าและบริการ (Product) ราคา (Price) วิธีการนำสินค้าไปสู่มือลูกค้า (Place) รวมถึงการส่งเสริมสินค้าให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น (Promotion) แต่ถ้าองค์กรยังเป็นผู้ตามในตลาด ก็จะถูกภาวะกดดันจากทั้งคู่แข่งหลักๆ และคู่แข่งรายใหม่ทำให้ธุรกิจอาจจะไม่สามารถอยู่รอดได้ในระยะยาว
  2. ความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปจากในอดีตค่อนข้างมาก เนื่องจากปัจจุบันเป็นเรื่องของยุคข้อมูลข่าวสาร ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งในด้านผลิตภัณฑ์และด้านบริการได้มากขึ้นผ่านทางอินเทอร์เน็ต และSocial Network ทำให้พฤติกรรมการซื้อ (Purchasing Behavior) ความเต็มใจที่จะจ่าย (Willingness to Pay) รวมถึงการตอบสนองของลูกค้าต่อสินค้า และบริการนั้นมีผลต่อการตัดสินใจขององค์กรเป็นอย่างยิ่ง
  3. เทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อทั้งผู้ผลิต ผู้ให้บริการและผู้บริโภคในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้นหลายๆ องค์กรให้ความสำคัญกับการติดตั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทคโนโลยีและระบบการทำงานคอมพิวเตอร์ อาทิเช่น สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต แอปพลิเคชันที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสนับสนุน Platform บนมือถือรวมถึงความนิยมในการใช้ Social Network และการทำธุรกรรมออนไลน์ เป็นต้น ได้มีการพัฒนาขึ้นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้องค์กรมีการเก็บข้อมูลอย่างมหาศาลในแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ดังนั้นแนวคิดของการจัดการกับข้อมูลที่มากมายเหล่านั้นหรือที่เรียกว่า Big Data จึงเริ่มแพร่หลายและมีคนให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามคำถามสำคัญคือ องค์กรที่ให้ความสำคัญกับการนำแนวคิดเกี่ยวกับ Big Data เข้ามาช่วยในการวางแผนกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จนั้นมีมากน้อยขนาดไหน มีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกต้องหลักการหรือไม่ และเกิดประโยชน์ต่อองค์กรในระดับใด
          ระบบธุรกิจอัจฉริยะ (BusinessIntelligence) จึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้การตัดสินใจขององค์กรเป็นไปอย่างมีระบบและเป็นแบบอัตโนมัติเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากโลกของการแข่งขันทางธุรกิจในปัจจุบันเป็นโลกของข้อมูลข่าวสารที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หลายๆ องค์กรจึงต้องมีการปรับตัวและปรับเปลี่ยนวิธีการคิดและวัฒนธรรมองค์กร โดยประยุกต์นำระบบธุรกิจอัจฉริยะเข้ามาช่วยในแต่ละขั้นตอนของการวางแผนกลยุทธ์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวขององค์กร รวมถึงวิธีการและขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการตัดสินใจเพื่อให้ตอบสนองต่อปรากฏการณ์ของ Big Data ได้อย่างเหมาะสมและรวดเร็ว ระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence) มีพื้นฐานมาจากระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems) แม้ว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันจะเปลี่ยนแปลงไปทั้งในเรื่องของการจัดการข้อมูล Big Data และการเชื่อมต่อฐานข้อมูลที่เร็วขึ้น การสร้างแบบจำลองหรือโมเดลที่ซับซ้อนขึ้น ซึ่งนักวิเคราะห์น่าจะได้เรียนรู้ถึงระบบเอไอ (AI: Artificial Intelligence) ซึ่งเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ หรือการเชื่อมต่อของผู้ใช้งานบนเว็บไซต์และมือถือ เป็นต้น 
แต่หลักการของระบบธุรกิจอัจฉริยะยังคงเหมือนเดิมซึ่งมาจากองค์ประกอบพื้นฐานหลัก 4 องค์ประกอบ คือ
  1. ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management Layer) จะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์สำหรับการจัดการฐานข้อมูล โดยข้อมูลต่างๆ ที่ถูกจัดเก็บอาจจะเป็นข้อมูลที่อยู่ภายในขององค์กรเอง (internal Data) เช่น ข้อมูลการขาย ข้อมูลผลิตภัณฑ์ ข้อมูลด้านการตลาด การผลิต ข้อมูลพนักงาน และข้อมูลของสินค้าคงคลัง เป็นต้น หรืออาจจะเป็นข้อมูลที่เกิดการเชื่อมโยงกับข้อมูลภายนอก (External Data) เช่น ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม การจ้างงาน ข้อมูลสำมะโนประชากร ข้อมูลวิจัยตลาด หรือ ตารางอัตราดอกเบี้ยหรือภาษี เป็นต้น ระบบฐานข้อมูลจะเกี่ยวข้องกับคลังข้อมูล (Data Warehousing) หรือฐานข้อมูล (Database) ที่นักวิเคราะห์สามารถดึงข้อมูล เพิ่ม/ลบข้อมูล กรองข้อมูล แก้ไขข้อมูล สืบค้น สรุปข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ หรือการรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลมากว่าหนึ่งฐานข้อมูลได้
  2. ระบบของการวิเคราะห์ข้อมูล (Business Analytics Layer) จะเกี่ยวข้องกับการสร้างแบบจำลอง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเกี่ยวข้องกับแบบจำลองเชิงปริมาณในรูปแบบต่างๆ เช่น แบบจำลองทางการเงิน แบบจำลองในการพยากรณ์ แบบจำลองต้นไม้ตัดสินใจ แบบจำลองการวิเคราะห์การถดถอย แบบจำลองการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์ แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม เป็นต้น ระบบของการวิเคราะห์ข้อมูลจะทำหน้าที่ในการใช้งานแบบแบบจำลอง (Model Execution) การรวบรวมแบบจำลอง (Model Integration) หลายๆ แบบจำลองเข้าด้วยกัน และการรับ แปล และประมวลคำสั่งของแบบจำลอง (Model Command)
  3. ระบบการจัดการประสิทธิภาพการดำเนินงานทางธุรกิจ (BPM: Business Performance Management Layer) จะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยให้กระบวนการทางธุรกิจดำเนินไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กร โดยจะร่วมรวมแนวคิดการบริหารจัดการองค์กรเข้าด้วยกัน ทั้งในเรื่องของการกำหนดตัวชี้วัด (KPI: Key Performance Indicators) การประยุกต์นำระบบ Balance Scorecard, Six Sigma, หรือ Lean Manufacturing เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการ ทั้งนี้การกำหนดตัวชี้วัดที่ถูกต้องก็เป็นตัวกำหนดทิศทางของการวิเคราะห์ข้อมูล ทิศทางของการแก้ไขปัญหา และทิศทางของการสร้างกลยุทธ์
  4. .ระบบการเชื่อมต่อกับผู้ใช้งาน (User Interface Layer) จะเกี่ยวข้องกับการสื่อสารข้อมูลระหว่างระบบธุรกิจอัจฉริยะและผู้ใช้งาน ส่วนของการเชื่อมต่อกับผู้ใช้งานอาจจะอยู่ในรูปแบบของเว็บ (Web Browser) หรือแอปพลิเคชันบนมือถือ (Mobile Applications) ซึ่งผู้ใช้งานสามารถเข้าถึง Dashboard ที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ตัวชี้วัดต่างๆ ที่จำเป็นต่อการประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กรมาไว้ในที่เดียวกัน ทั้งในรูปแบบของกราฟ ตัวเลข หรือบทสรุปสำหรับผู้บริหาร

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบธุรกิจอัจฉริยะ




คำถมกรณีศึกษา 3 case

รายชื่อสมาชิก                                           นายสรศักดิ์                ประพันธ์อนุรักษ์         รหัสนักศึกษา 58127328003  ...