วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2561

คำถมกรณีศึกษา 3 case


รายชื่อสมาชิก
                                          นายสรศักดิ์              ประพันธ์อนุรักษ์       รหัสนักศึกษา 58127328003
                                          นางสาวอรยา            สุขคุ้ม                       รหัสนักศึกษา 58127328005
                                          นางสาวธัญนันท์       ริชะนะ                     รหัสนักศึกษา 58127328008
                                          นางสาวอาภาภรณ์     ศรีโชค                     รหัสนักศึกษา 58127328014
                                          นางสาวธัญณิชา        พูลสมบัติ                 รหัสนักศึกษา58127328017
                                          นางสาวจุฑามาศ        ปู่น้อย                      รหัสนักศึกษา 58127328023


CASE 1 : WILL MOBILE TECHNOLOGY PUT ORBITZ IN THE LEAD
1. ความสำคัญของเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือในกลยุทธ์ทางธุรกิจของ Orbitz
เทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับยุทธศาสตร์ทางธุรกิจของ Orbitz นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง Orbitz ก็ประสบความสำเร็จในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีมือถือ การใช้เทคโนโลยีมือถือทำให้ Orbitz สามารถลดต้นทุนของพวกเขาได้ รองรับกับการจองโรงแรมผ่านอุปกรณ์มือถือที่เติบโตขึ้นทุกวัน ในปัจจุบันนักท่องเที่ยวนิยมจองผ่านแอพพลิเคชั่นหรือเว็บไซต์บนมือถือ
Orbitz.com เป็นแอพพลิเคชั่นบนมือถือ นักท่องเที่ยวสามารถจองห้องพัก เช่ารถ หรือซื้อตั๋วเครื่องบิน อย่างง่ายดายไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ช่วยประหยัดเวลา และให้ความสะดวกสบายสูงสุด ในการเลือกจุดหมายปลายทาง Orbitz รู้ว่าลูกค้าของพวกเขาใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตเมื่อต้องการท่องเที่ยว เมื่อมองถึงความสำคัญนี้ Orbitz ได้เปิดตัวแอพพลิเคชั่นต่างๆ สำหรับ iPhone, Android และ Window
2. ปัญหาอะไรในการจัดการ องค์กร และเทคโนโลยี ที่ Orbitz จำเป็นต้องแก้ไขในกลยุทธ์บนมือถือ
เนื่องจากเทคโนโลยีจะพัฒนาไปตามยุคสมัย Orbitz ต้องปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการอยู่เสมอจึงจะสามารถแข่งขันกับบริษัทอื่นๆ ได้ การจัดการต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ Orbitz มีความทันสมัย ใช้งานสะดวก และรวดเร็วอยู่เสมอ
3. ทำไมผู้ใช้โทรศัพท์มือถือจึงมีแนวโน้มที่จะจองห้องพักโรงแรมหรือจองเที่ยวบินในวันเดียวกัน
นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เมื่อมีการเดินทาง ก็ต้องมีการหาห้องพักไปพร้อมๆ กัน Orbitz จึงมีข้อเสนอพิเศษเมื่อจองห้องพักและตั๋วเครื่องบินในวันเดียวกันบนมือถือ เรียกว่า Mobile Steals ใช้ได้ทั้งในเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซและ Orbitz app สำหรับบริการ iPhone และ Android นักท่องเที่ยวจะประหยัดได้ถึง 50% ของราคาปกติ
4. บทบาท Orbitz สำหรับกลยุทธ์ทางธุรกิจ
คริสบราวน์รองประธาน Orbitz กล่าวว่าความสามารถในการเป็นผู้เล่นหลักในตลาดอีคอมเมิร์ซที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว จะต้องเพิ่มความรวดเร็วในการทำธุรกรรม โดยแอพพลิเคชั่นจะทำหน้าที่ในการดึงดูดลูกค้าใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกค้าที่พยายามจองหลายๆ อย่างในวันเดียวกัน
เริ่มแรก Orbitz เข้าสู่ตลาดด้วยเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับผู้ใช้ทางธุรกิจ เนื่องจากนักเดินส่วนใหญ่พกพาสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตอยู่แล้ว นักธุรกิจมักต้องใช้เอกสารด้านค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อยื่นให้บริษัท Orbitz มีเครื่องมือที่ช่วยให้นักเดินทางสามารถปฏิบัติตามแนวทางของบริษัทได้
5. ความสำเร็จของ Orbitz
ความสำเร็จของ Orbitz คือการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีมือถือ ในปี 2549 และกลายเป็นบริษัทท่องเที่ยวทางอินเทอร์เน็ตแห่งแรกที่เปิดให้บริการเว็บไซต์บนมือถือ ซึ่งผู้ใช้สามารถตรวจสอบสถานะการบินได้ถึง 27 สายการบิน ค้นหาโรงแรมในสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโก Orbitz ได้รับการปรับปรุงมากมายสำหรับการให้บริการบนมือถือ แอพพลิเคชั่นช่วยให้นักท่องเที่ยวสามารถดูค่าเฉลี่ยของเวลาที่รอคอยสำหรับสายการบินได้ ค้นหาบริการ WiFi ที่พร้อมใช้งาน คำนวณความล่าช้าในการเช็คอิน เวลารอรถแท็กซี่ ดูสภาพอากาศ และสภาพการจราจร สามารถค้นหาโรงแรมในบริเวณใกล้เคียง และดำเนินการเปรียบเทียบราคา ความสะดวกสบายต่างๆ นี้เองที่ช่วยให้ Orbitz ประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจการ

CASE 2 : AMCO Business Solutions กับธุรกิจยางล้อรถยนต์
1. วิเคราะห์และอธิบายประโยชน์ของระบบการบริหารทรัพยากรขององค์กร (Enterprise Resource Planning : ERP) สำหรับธุรกิจยางล้อรถยนต์ ต่อกระบวนการทางธุรกิจของฝ่ายต่างๆ ในองค์กร แยกเป็นด้านการผลิต ด้านการตลาด ด้านการเงินและบัญชี และด้านทรัพยากรมนุษย์
ด้านการผลิต : ผลิตให้ตรงกับความต้องการได้อย่างแม่นยำ ทันเวลา และทำให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตสูงสุด ทำให้ระบบการผลิตเป็นไปตามที่วางแผนไว้
ด้านการเงินและบัญชี : ทำให้ผู้บริการทราบงบการเงิน ทำให้ผู้บริหารสามารถได้ข้อมูลทันทีและถูกต้องเมื่อต้องการ ทำให้การตัดสินใจอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง
ด้านทรัพยากรมนุษย์ : ทำให้จัดหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ในการทำงานเข้ามาทำงานร่วมกันทำให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพสูง ช่วยวิเคราะห์และหาแนวทางมนการกระตุ้นให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน เช่น การประเมินประสิทธิภาพในการทำงานเพื่อใช้ในการขึ้นเงินเดือน โบนัสสวัสดิการ
2. วิเคราะห์และอธิบายปัจจัยความสำเร็จของการนำระบบการบริหารทรัพยากรขององค์กร (Enterprise Resource Planning : ERP) มาใช้ในธุรกิจยางล้อรถยนต์
Ä  การบูรณาการระบบต่างๆ ของ AMCO Business Solution การบูรณาการระบบงานต่างๆเข้าด้วยกันตั้งแต่การจัดซื้อ จัดจ้าง การผลิต การขาย บัญชีการเงิน ซึ่งแต่ละส่วนงานจะมีความเชื่อมโยงในด้าน การไหลของวัตถุดิบป้อนสู่ไลน์การผลิต และการไหลของข้อมูล AMCO Business Solution ทำหน้าที่ในการจัดการข้อมูล ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการงานในกิจกรรมต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด พร้อมกับความสามารถรับรู้สถานการณ์และปัญหาของงานต่างๆ ได้ทันที ทำให้สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาองค์กรได้อย่างรวดเร็ว
Ä  สามารถลดปัญหาข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกัน เพิ่มประสิทธิภาพ ลดข้อผิดพลาดของข้อมูล สามารถรวมระบบงานต่างๆเข้าเป็นระบบงานเดียวกันซึ่งมีฐานข้อมูลเดียว บันทึกและแสดงผลแบบ Real time สามารถลดปัญหาข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกัน เพิ่มประสิทธิภาพ ลดข้อผิดพลาดของข้อมูล ช่วยให้สามารถทำการปิดบัญชีได้ทุกวันเป็นรายวัน คำนวณต้นทุนและกำไรขาดทุนของบริษัทเป็นรายวัน
Ä  สามารถทราบคำสั่งซื้อ(Purchase Order) และคำสั่งขาย(Sales Order) ทันทีทุกที่ทุกเวลา ว่าคำสั่งดังกล่าว คือประเภทใด จำนวนเท่าไร และรองรับการทำงานผ่าน Mobility ได้ทุกประเภท
Ä  ความสามารถในการวางแผนการผลิตที่ดี เริ่มต้นคำสั่งซื้อแปลงมาเป็นคำสั่งผลิต เพื่อผลิตให้ตรงกับความต้องการได้อย่างแม่นยำ ทันเวลา
Ä  ผู้บริหารสามารถตรวจสอบ ติดตามการทำงานได้ง่าย อาทิเช่น การวิเคราะห์งบการเงิน ผู้บริหารสามารถได้ข้อมูลทันทีและถูกต้องเมื่อต้องการ ทำให้การตัดสินใจอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง
3. วิเคราะห์และอธิบายความสามารถของระบบการบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (Customer Relationship Management : CRM) สำหรับธุรกิจยางล้อรถยนต์ ควรมีคุณลักษณะอย่างไร
Ä  ช่วยเพิ่มความสามารถในการบริการลูกค้าได้ดีขึ้น เพิ่มช่องทางให้ลูกค้าได้แนะนำติชมบริการขององค์กร ช่วยให้ลูกค้าและค้าสามารถ Customize ความต้องการของตนได้ทันที
Ä  ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับลูกค้าและคู่ค้าให้ดีขึ้น ทำให้องค์กรรู้ความสนใจ ความต้องการ และพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าและคู่ค้า สามารถร่วมกันคิด สร้างสรรค์และพัฒนาออกมาเป็นสินค้าและบริการที่เหมาะสมกับลูกค้าได้
Ä  สร้างความจงรักภักดีของลูกค้าในระยะยาว การได้มาซึ่งลูกค้าในระยะยาวว่ายากแล้ว แต่การรักษาลูกค้าให้อยู่ไปนานๆ ยากยิ่งกว่า ซึ่งองค์กรจะต้องถือเป็นทรัพย์สินที่มีค่าและต้องดูแลรักษาเป็นอย่างดี เพราะจะช่วยให้องค์กรลดการสูญเสียลูกค้า ลดต้นทุนการตลาด
Ä  เพิ่มยอดขายในระยะยาว จากากรศึกษาพบว่าค่าใช้จ่ายในการหาลูกค้าใหม่นั้นมากกว่า 5 เท่า ดังนั้น การรักษาฐานลูกค้าเก่าจึงมีความสำคัญมาก เพราะลุกค้าเหล่านี้มีแนวโมสูงที่จะซื้อสินค้าและบริการซ้ำแล้วซ้ำอีกไปเรื่อยๆ ในอนาคต
Ä  เพิ่มโอกาสในการเติมโตของธุรกิจ การมีคู่ค้าที่ดี จะทำให้ความสัมพันธ์ทาวธุรกิจและการเจริญเติบโตของธุรกิจรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความชำนาญและการเข้าถึงลูกค้าแต่ละพื้นที่ของคู่ค้าแต่ละแห่งจะไม่เท่ากัน การเพิ่มโอกาสให้คู่ค้าสามารถนำเสนอสิ่งทีดีที่สุดให้กับลูกค้าในเวลาที่เหมาะสม และทันต่อเหตุการณ์จะช่วยเพิ่มช่องทางการขายได้โดยที่ไม่ต้องเพิ่มทุน
4. วิเคราะห์และอธิบายความสามารถของระบบการบริหารห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management : SCM) สำหรับธุรกิจยางล้อรถยนต์ ควรมีคุณลักษณะอย่างไร
Ä  AMCO ERP มีเครื่องมือที่ช่วยในการบริหารจัดการและวางแผนการผลิตแบบ Just in Time (JIT) ที่ครอบคลุมตั้งแต่ ขั้นตอนการวางแผน การจัดหาวัตถุดิบ การควบคุมการผลิต การจัดส่ง และการส่งคืนสินค้า ตลอดจนการคิดค่าใช้จ่ายและต้นทุน เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการส่งมอบสินค้าและบริการให้ถึงมือลูกค้าให้ทันเวลาตามเวลาที่ระบุ
Ä  PBID Screen เปลี่ยนข้อมูลที่ซับซ้อนมาเป็นกราฟและตารางที่เข้าใจง่าย มองเห็นถึงภาพรวมของกิจกรรมการผลิตรวมถึงความสัมพันธ์ทั้งหมดในมิติที่หลากหลาย และนำไปประกอบการตัดสินใจได้ทันที เช่น ข้อมูลขาย แผนการผลิตและกำลังการผลิต วัตถุดิบคงเหลือและแผนการจัดซื้อ รวมถึงข้อมูลค่าใช้จ่ายและ overhead ต่างๆ
Ä  ตอบสนองการตัดสินใจได้อย่างทันท่วงที รับทราบสถานการณ์ดำเนินงานปัจจุบัน และคาดการณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทำให้มองเห็นสาเหตุและแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด เช่น ส่งมอบสินค้าล่าช้าเนื่องจากมีการผลิตที่ล่าช้าต่อเนื่องสะสม หรือการที่ผู้บริหารทราบได้ทันทีว่าสาเหตุดังกล่าวเกิดมาจากปัจจัยภายใน เช่น เครื่องจักรชำรุด หรือปัจจัยภายนอก เช่น วัตถุดิบที่ใช้มีคุณภาพต่ำหรือส่งมอบล่าช้า เป็นต้น
Ä  สนับสนุนการวางแผนหรือกำหนดนโยบาย ช่วยให้ผู้บริหารมองสถานการณ์ปัจจุบันในแต่ละส่วนและนำไปพยากรณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ได้แก่ กำลังการผลิต งบประมาณ หรือปริมาณวัตถุดิบคงเหลือ
Ä  บริหารและควบคุมงบประมาณและค่าใช้จ่าย รับทราบถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการผลิตทั้งทางตรงทางอ้อม เพื่อควบคุมการผลิตสินค้าแต่ละชนิดไม่เกินงบประมาณที่ตั้งไว้ และไม่ทำให้ต้นทุนในการผลิตสินค้าสูงเกินไป
Ä  วัดประสิทธิภาพในการผลิต วัดประสิทธิภาพในการผลิตโดยรวมของเครื่องจักร (Overall Equipment Effectiveness : OEE) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลในการวัดกิจกรรมการผลิต ที่ทำให้ผ็บริหารมองเห็นภาพรวมและนำไปกำหนดกลยุทธ์ในการบริหารงานที่เหมาะสมต่อไป

CASE 3 : AMERICA’S CUP : THE TENSION BETWEEN TECHNOLOGY AND HUMAN DECISION MAKERS
1. เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง ในการแข่งขันขัน America’s Cup
ในปี 2013 มีการออกแบบเรือใบที่สวยงามและน่าตื่นเต้น แตกต่างจากเรือใบแบบดั้งเดิม ในศตวรรษที่ 21 อย่างสิ้นเชิง เรือมีขนาด 72 ฟุต ชื่อว่า AC72s สามารถแล่นได้มากกว่า 50 ไมล์ต่อชั่วโมง เร็วที่สุดในหมู่เรือที่เคยสร้าง AC72 ใช้ไฮโดรฟอยล์ขนาดเล็ก อยู่ใต้ลำเรือให้แรงยกมากกว่า 12,000 ปอนด์ เพื่อช่วยยกลำเรือให้สูงขึ้นจากใต้น้ำได้  เช่นเดียวกับปีกเครื่องบินทืมีไฮโดรฟอยล์ไว้ช่วยสร้างแรงยกให้กับเครื่องบินขณะที่กำลังบิน การควบคุมเรือในรูปแบบดั้งเดิม จะใช้ลูกเรือมองที่เรือและทะเลแล้วทำการปรับเปลี่ยนแก้ไขตามความเหมาะสม แต่ในปัจจุบันมีการพึ่งพาเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยมากขึ้น มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการการตัดสินใจ มีการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยเซนเซอร์ที่ติดตั้งไว้บนเรือ แล้วนำเสนอข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์มือถือขนาดเล็กไปยังลูกเรือแต่ละคน
2. เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลต่อการตัดสินใจของ Team USA อย่างไร
เทคโนโลยีสารสนเทศจำเป็นสำหรับ Team USA เพราะมันจะทำให้สามารถทำงานหลายๆ อย่าง นับพันครั้งได้ในหนึ่งชั่วโมง เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ Team USA  ได้เรื่อยๆ ส่งผลให้มีการตัดสินใจที่แม่นยำ และรวดเร็ว สามารถวัดผลได้ทันนที ทำให้ Team USA ได้เปรียบเหนือคู่แข่ง ที่มีความเข้าใจในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศน้อยกว่า
3. How much was technology responsible for Team USA’s America’s Cup victory? Explain your answer.
3. เทคโนโลยีที่ทำให้ Team USA ชนะในรายการ America’s Cup
Team USA ใช้เซ็นเซอร์ 250 ตัวบนปีกเรือและหางเสือของเรือ เพื่อรวบรวมข้อมูลแบบเรียลไทม์ เพื่อตรวจสอบผลของการปรับเปลี่ยนแต่ละครั้ง มีเซ็นเซอร์ตรวจสอบตัวแปรถึง 4,000 ตัว ใน 10 ครั้งต่อวินาที สามารถผลิตได้ 90 ล้านข้อมูลต่อชั่วโมง ซึ่งข้อมูลนั้นจะถูกส่งผ่านเครือข่ายไร้สายไปยังหน้าจอบนข้อมือลูกเรือ ข้อมูลจะถูกถ่ายโอนไปยังเรือที่กำลังวิ่งอยู่ และจัดเก็บข้อมูลไว้ในซอฟต์แวร์การจัดการฐานข้อมูล Oracle 11g สำหรับการวิเคราะห์แบบเรียลไทม์ โดยใช้สูตรการคาดการณ์ความเร็วเพื่อทำความเข้าใจว่าอะไรที่ทำให้เรือแล่นได้เร็วและส่งข้อมูลมายังศูนย์ออราเคิล ออสติน (Oracle Austin) สำหรับการวิเคราะห์ในเชิงลึกมากขึ้น สมาชิกใน Team USA แต่ละคนจะสวมคอมพิวเตอร์มือถือขนาดเล็กบนข้อมือ เพื่อแสดงข้อมูลที่สำคัญ ที่สมาชิกคนนั้นรับผิดชอบอยู่
กัปตันและนักยุทธวิธีมีข้อมูลที่แสดงบนแว่นตากันแดดของพวกเขา ด้วยวิธีนี้สมาชิกลูกเรือแต่ละคนจะได้รับข้อมูลที่ต้องการจากกัปตันและนักยุทธวิธี เพื่อทำหน้าที่ของตัวเองทันที
4. เปรียบเทียบบทบาทการใช้ Big Data ของ Team USA ใน America’s Cup กับการชนะฟุตบอลโลก ปี 2014 ของทีมชาติเยอรมัน
Team USA Big Data มีบทบาทในการช่วยเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลของนักกีฬา ซึ่งข้อมูลที่เก็บมาวิเคราะห์นี้ก็มีตั้งแต่ สถิติเวลาที่ทำได้ในการฝึกซ้อม ข้อมูลการฝึกซ้อมในด้านต่างๆ เช่น การเทรนด้านพละกำลัง การเทรนด้านความอดทน และความเร็วในแล่นของเรือขณะทำการฝึกซ้อม เป็นต้น โดยข้อมูลที่เก็บได้นอกจากจะเป็นข้อมูลรายบุคคลของนักกีฬาและข้อมูลแบบทีมแล้ว ทางทีมงานยังได้เก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมและปัจจัยที่จะส่งผลต่อการทำเวลาและประสิทธิภาพของนักกีฬาไว้อีกด้วย ซึ่งข้อมูลที่ว่าก็คือ สภาพดินฟ้าอากาศ แรงลม กระแสน้ำ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการแข่งขันทั้งสิ้น
ในการแข่งขันฟุตบอลโลก Big Data มีบทบาทต่อทีมชาติเยอรมันในการระบุจุดอ่อนและจุดแข็งของผู้เล่น ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของนักฟุตบอลที่เข้าร่วมการแข่งขัน ทีมชาติเยอรมันได้ร่วมมือกับเอสเอพี (SAP) เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่ประกอบด้วยข้อมูลเชิงลึกจากการแข่งขันในแมตช์ต่างๆ ซึ่งช่วยในการฝึกซ้อมนักฟุตบอลทีมชาติ และส่งผลให้ทีมชาติเยอรมนีครองถ้วยแชมป์ฟุตบอลโลกในปี 2014 แสดงให้เห็นว่าการใช้เทคโนโลยีในการรวบรวม จัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูล มีส่วนช่วยให้ตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น



บทที่ 8 Decision Support System


ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ได้เริ่มขึ้นในช่วง ปี ค.ศ. 1970 โดยมีหลายบริษัทเริ่มที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อที่จะช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน หรือกึ่งโครงสร้างโดยข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงตลอด ซึ่งระบบสารสนเทศเดิมที่ใช้ในลักษณะระบบการประมวลผลรายการ (Transaction processing system) ไม่สามารถกระทำได้ นอกจากนั้นยังมีวัตถุประสงค์เพื่อลดแรงงาน ต้นทุนที่ต่ำลงและยังช่วยในเรื่องการวิเคราะห์การสร้างตัวแบบ (Model) เพื่ออธิบายปัญหาและตัดสินใจปัญหาต่างๆ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1980 ความพยายามในการใช้ระบบนี้เพื่อช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจได้แพร่ออกไป ยังกลุ่มและองค์การต่างๆ
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ คืออะไร
DSS เป็นซอฟแวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน นอกจากนั้น DSSยังเป็นการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ โดยเป็นการกระทำโต้ตอบกัน เพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้างและอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดขั้นตอนหรืออาจกล่าวได้ว่า DSS เป็นระบบที่โต้ตอบกันโดยใช้คอมพิวเตอร์เพื่อหาคำตอบที่ง่าย สะดวก รวดเร็วจากปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน ดังนั้นระบบการสนับสนุนการตัดสินใจจึงประกอบด้วยชุดเครื่องมือ ข้อมูล ตัวแบบ (Model) และทรัพยากรอื่นๆ ที่ผู้ใช้หรือนักวิเคราะห์นำมาใช้ในการประเมินผลและแก้ไขปัญหา ดังนั้นหลักการของDSS จึงเป็นการให้เครื่องมือที่จำเป็นแก่ผู้บริหาร ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีรูปแบบที่ซับซ้อน แต่มีวิธีการปฏิบัติที่ยืดหยุ่น DSS จึงถูกออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่เพียงแต่การตอบสนองในเรื่องความต้องการของข้อมูลเท่านั้น
การจัดการกับการตัดสินใจ
การจัดการ (Management) หมายถึงการบริหารอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วยกิจกรรมของกลุ่มบุคคลที่ร่วมมือกันดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้โดยใช้กระบวนการและทรัพยากรอย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด
การจัดการเป็นศาสตร์และศิลปะซึ่งกระบวนการจัดการประกอบด้วย การวางแผน (Planning),การจัดองค์การ (Organizing), การสั่งการหรืออำนวยการ (Leading/Directing) และการควบคุม (Controlling) โดยการจัดการที่มีประสิทธิภาพนั้น ผู้บริหารจะต้องสามารถนำเอาความรู้ ความเข้าใจในศาสตร์ด้านการบริหารมาประยุกต์ใช้ให้เหาะสมกับการทำงาน สถานการณ์ และสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง ผู้บริหารจะต้องรู้จักเลือกและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศในรูปแบบที่ง่ายต่อความเข้าใจและเป็นประโยชน์ต่อการบริหารและการตัดสินใจ
ระดับการจัดการ
การจัดการภายในองค์การ  โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ระดับ การจัดการระดับสูง ( Upper  lever management )  การจัดการระดับกลาง (Middle-level Management)  การจัดการระดับต้น (Lower-level Management)
ซึ่งผู้บริหารแต่ละระดับมีหน้าที่และความรับผิดชอบที่ต่างกัน
1. การจัดการระดับสูง (Upper-level Management) ผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้กำหนดวิสัยทัศน์ นโยบาย เป้าหมาย วัตถุประสงค์ รวมถึงวางแผนกลยุทธ์และแผนระยะยาวขององค์การ จึงมีความต้องการสารสนเทศที่มีขอบเขตกว้างและสารสนเทศเกี่ยวกับแนวโน้มต่าง ๆ จากทั้งภายในองค์การและสิ่งแวดล้อมภายนอก
2. การจัดการระดับกลาง (Middle-level Management) ผู้บริหารระดับกลางมีหน้าที่วางแผนยุทธวิธี (Tactical Planning) และประสานงานระหว่างผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารงานระดับต้นหรือหัวหน้างานเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและสามารถปฏิบัติงานตามนโยบายหรือแผนงานที่กำหนดโดยผู้บริหารระดับสูง
3. การจัดการระดับต้น (Lower-level Management)ผู้บริหารงานระดับต้นหรือหัวหน้างานมีหน้าที่ควบคุม ดูแลการปฏิบัติงานประจำวัน (Operational Control) ซึ่งขั้นตอนการทำงานมีรูปแบบที่แน่นอนและทำงานใกล้ชิดกับผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้การทำงานเป็นไปตามแผนที่กำหนดโดยผู้บริหารระดับกลาง การจัดการในระดับนี้ต้องอาศัยข้อมูลจากการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียดนำมาวิเคราะห์เพื่อสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงานและควบคุมให้สามารถดำเนินงานตามแผนระยะสั้นที่วางไว้
การตัดสินใจ (Decision Making) กระบวนการตัดสินใจประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ
1.การใช้ความคิดประกอบเหตุผล (Intelligence)   เป็นขั้นตอนที่รับรู้และตระหนักถึงปัญหาหรือโอกาสที่เกิดขึ้น ทำการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา นำข้อมูลมาวิเคราะห์และตรวจสอบเพื่อแยกแยะและกำหนดรายละเอียดของปัญหาหรือโอกา
2.การออกแบบ (Design) เป็นขั้นตอนของการพัฒนาและวิเคราะห์ทางเลือกในการปฏิบัติที่เป็นไปได้ รวมถึงการตรวจสอบและประเมินทางเลือกในการแก้ปัญหา ซึ่งอาจใช้ตัวแบบเพื่อสร้างทางเลือกต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา หรือออกแบบหนทางแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
3.การคัดเลือก (Choice) ผู้ตัดสินใจจะเลือกแนวทางเลือกที่เมาะสมกับปัญหาและสถานการณ์มากที่สุด โดยอาจใช้เครื่องมือมาช่วยวิเคราะห์คำนวณค่าใช้จ่ายและผลตอบแทนของแต่ละแนวทางเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าได้เลือกแนวทางที่ดีที่สุด

4.การนำไปใช้ (Implementation) เป็นขั้นตอนที่นำผลการตัดสินใจไปปฏิบัติและคิดตามผลของการปฏิบัติเพื่อตรวจสอบว่าการดำเนินงานมีประสิทธิภาพหรือมีข้อขัดข้องประการใด จะต้องแก้ไข้หรือปรับปรุงให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์อย่างไร

ระดับของการตัดสินใจภายในองค์การ จำแนกให้สอดคล้องกับระดับของการจัดการออกเป็น 3 ระดับ คือ
1. การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (Strategic Decision Making)  การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง ที่ให้ความสนใจในอนาคต เช่น การกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์การ การกำหนดนโยบายและการวางแผนระยะยาวเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดโดยทั่วไปสิ่งแวดล้อมในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงจะมีกาiเปลี่ยนแปลงหรือมีความไม่แน่นอนและไม่สามารถกำหนดขั้นตอนการตัดสินใจที่ชัดเจนไว้ล่วงหน้าได้
2. การตัดสินใจเชิงยุทธวิธี (Tactical Decision Making) การตัดสินใจเชิงยุทธวิธีเป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งจะเกี่ยวกับการจัดการเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ตามที่ผู้บริหารระดับสูงกำหนดไว้ การตัดสินในระดับนี้จะเกี่ยวข้องกับปัญหาในลักษณะแบบกึ่งโครงสร้าง เช่น กาจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ การจัดสรรงบประมาณ การกำหนดการผลิต การกำหนดยุทธวิธีทางการตลาด การวางแผนงบประมาณระยะกลาง และการทำโครงการต่าง ๆ เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
3.การตัดสินใจเชิงปฏิบัติการ (Operational Decision Making)  การตัดสินใจเชิงปฏิบัติการเป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับปฏิบัติการหรือหัวหน้างานซึ่งเกี่ยวข้องกับงานประจำหรือการปฏิบัติงานเฉพาะด้านต่างๆที่เกิดขึ้นเป็นกิจวัตรเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสามารถปฏิบัติงานเหล่านั้นได้ตามแผนที่วางไว้อย่างสำเร็จและมีประสิทธิภาพ เช่น 
การตัดสินใจในกระบวนการสั่งซื้อการควบคุมสินค้าคงคลัง การตัดสินใจในระดับนี้เป็นการตัดสินใจเกี่ยวข้องกับปัญหาลักษณะแบบมีโครงสร้าง ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการต่าง ๆ สามารถกำหนดไว้ล่วงหน้าและทำการตัดสินใจได้โดยอัตโนมัติเนื่องจากจะเป็นปัญหาในเรื่องที่ซ้ำ ๆ กัน ตัวอย่างของการตัดสินใจ เช่น การกำหนดเวลาสั่งสินค้าคงคลังจำนวนวัตถุดิบที่จะสั่งซื้อแต่ละครั้ง การวางแผนเบิกจ่ายวัสดุ และการมอบหมายงานให้พนักงานเป็นรายบุคคล
ลักษณะของสารสนเทศและการตัดสินใจของผู้บริหารแต่ละระดับ
   ประเภทของการตัดสินใจมี 3 ประเภท ได้แก่
       1. การตัดสินใจแบบโครงสร้าง ( Structure Decision) บางครั้งเรียกว่าแบบกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว (programmed) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำ จึงมีมาตรฐานในการตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาอยู่แล้ว โดยวิธีการในการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดจะถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เช่น การหาระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสม หรือการเลือกกลยุทธ์ในการลงทุนที่เหมาะสมที่สุดเมื่อมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด หรือเพื่อให้เกิดกำไรสูงสุด การตัดสินใจแบบนี้จึงมักใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) หรือศาสตร์ทางด้านวิทยาการ การจัดการ (Management Science) หรือการวิจัยดำเนินงาน (Operation Research) เข้ามาใช้ โดยในบางครั้งอาจนำระบบสนับสนุนการตัดสินใจและระบบผู้เชี่ยวชาญเข้ามาใช้ร่วมด้วย  ตัวอย่างของการตัดสินใจแบบโครงสร้าง ได้แก่ การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับสินค้าคงคลัง จะต้องสั่งของเข้า(Order Entry) ครั้งละเท่าไร เมื่อใด การวิเคราะห์งบประมาณ (Budget Analysis) ที่ต้องใช้ในการจัดการต่างๆ การตัดสินใจเรื่องการลงทุน จะลงทุนอะไร ที่ตั้งโกดังเก็บสินค้า (Warehouse Location) ควรตั้งที่ไหน, ระบบการ จัดส่ง/การจำหน่าย (Distribution System) ควรเป็นอย่างไร เป็นต้น
         2. การตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง (Unstructured Decision) บางครั้งเรียกว่าแบบไม่เคยกำหนดล่วงหน้ามาก่อน ( Nonprogrammed ) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาซึ่งมีรูปแบบไม่ชัดเจน หรือมีความซับซ้อน จึงไม่มีแนวทางในการแก้ปัญหาแน่นอน เป็นปัญหาที่ไม่มีการระบุวิธีแก้ไว้อย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง การตัดสินใจกับปัญหาลักษณะนี้จะไม่มีเครื่องมืออะไรมาช่วย มักเป็นปัญหาของผู้บริหารระดับสูง ต้องใช้สัญชาตญาณ ประสบการณ์ และความรู้ของ ผู้บริหารในการตัดสินใจ ตัวอย่างของการตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง เช่น การวางแผนการบริการใหม่, การว่าจ้างผู้บริหารใหม่เพิ่ม หรือการเลือกกลุ่มของโครงงานวิจัยและพัฒนาเพื่อนำไปใช้ในปีหน้า
          3. การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structure Decision) เป็นการตัดสินใจแบผสมระหว่างแบบโครงสร้าง และแบบไม่เป็นโครงสร้าง คือบางส่วนสามารถตัดสินใจแบบโครงสร้างได้ แต่บางส่วนไม่สามารถทำได้ โดยปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างนี้จะใช้วิธีแก้ปัญหาแบบมาตรฐาน และการพิจารณาโดยมนุษย์รวมเข้าไว้ด้วยกัน คือมีลักษณะเป็นกึ่ง โครงสร้าง แต่มีความซับซ้อนมากขึ้น ขั้นตอนจึงไม่ชัดเจนว่าจะมี
ส่วนประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ แบ่งออกได้เป็น 4 ส่วน
ระบบย่อยในการจัดการข้อมูล (Data management subsystem) ได้แก่ฐานข้อมูลที่บรรจุข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์นั้นๆ และถูกจัดการโดยซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management Systems : DBMS)
ระบบย่อยในการจัดการตัวแบบ (Model management subsystem) เป็นชุดซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่รวมการทำงานเช่น การทำงานด้านการเงิน, สถิติ, วิทยาการการจัดการ หรือตัวแบบเชิงปริมาณอื่นๆ ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล และมีซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการที่เหมาะสม เรียกว่า ระบบจัดการ ฐานตัวแบบ (Model base management system : MBMS)
ระบบย่อยในการจัดการความรู้ (Knowledge management subsystem) เป็นระบบย่อยซึ่งสนับสนุนระบบย่อยอื่นๆ หรือเป็นส่วนประกอบแบบอิสระไม่ขึ้นกับองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยให้ข้อมูลหรือความรู้แก่ ผู้ตัดสินใจ
ระบบย่อยในการติดต่อกับผู้ใช้ (User interface subsystem) ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารและสั่งงานระบบสนับสนุนการตัดสินใจโดยผ่านระบบย่อยนี้
          1.ระบบย่อยในการจัดการข้อมูล ข้อมูลในระบบสนับสนุนการตัดสินใจนั้นมีหลายระดับ ได้แก่ข้อมูล (Data), สารสนเทศ (Information), และความรู้ (Knowledge) โดยข้อมูลต่างๆ เหล่านี้อาจมีแหล่งกำเนิดจากภายใน ภายนอกองค์กร หรือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ที่เข้ามายังระบบสนับสนุนการตัดสินใจ จะถูกนำเข้าสู่ระบบย่อยในการจัดการข้อมูล ซึ่งแบ่งส่วนออกเป็นส่วนๆ คือ ฐานข้อมูลของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS Database), ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System), ไดเรกทอรีข้อมูล (Data Directory) และสิ่งอำนวยความสะดวกในการสอบถามข้อมูล (Query Facility)
ระดับข้อมูล
1. ข้อมูล (Data) ได้แก่ สิ่งของ เหตุการณ์ กิจกรรม และรายการที่ถูกบันทึก ถูกแยกประเภท และถูกเก็บ แต่ไม่มีการถ่ายทอดความหมายใดๆ ออกมา ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร เสียง หรือรูปภาพ
2. สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูลที่ถูกจัดการเพื่อแสดงความหมายของข้อมูลออกมายังผู้ที่ได้รับ ข้อมูลนั้น
3. ความรู้ (Knowledge) ประกอบด้วยข้อมูลซึ่งถูกจัดการและประมวลผลเพื่อถ่ายทอดความเข้าใจ ประสบการณ์ การเรียนรู้ และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับปัญหา หรือกิจกรรมต่างๆ
แหล่งข้อมูล
1.ข้อมูลภายใน (Internal Data) ได้แก่ ข้อมูลที่ถูกเก็บอยู่ในที่ต่างๆภายในองค์กร หรือได้มาจากระบบประมวลผลรายการ (transaction processing system) ขององค์กร มีลักษณะเป็นข้อมูลที่มีแหล่งกำเนิดมาจาก การปฏิบัติงานภายในองค์กร หรือได้จากเครือข่ายอินทราเน็ต (Intranet) เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ บุคคล, ผลิตภัณฑ์, บริการ และขบวนการ ต่างๆ เช่น ข้อมูลบัญชีเงินเดือน ข้อมูลด้านการตลาด การผลิต และข้อมูลบุคคล หรือข้อมูล การจัดตารางการขายในอนาคต ค่าใช้จ่ายเมื่อสินค้าขาดสต๊อก แผนในการจ้างคน เป็นต้น
2.ข้อมูลภายนอก (External Data) เป็นข้อมูลที่มีที่มาจากภายนอกองค์กร เช่น ข้อมูลจากธนาคารข้อมูลเชิงพาณิชย์ (Commercial Data Bank) จากรัฐบาลต่างประเทศ องค์การการค้า บริษัทวิจัยตลาด บริษัทวิเคราะห์เศรษฐกิจ หรืออาจมาจากหน่วยงานภายในองค์กรที่รวบรวมข้อมูลภายนอกอีกทีหนึ่ง หรือได้จากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต(Internet) รวบรวมได้จากดาวเทียม ซีดีรอม ภาพยนตร์ ดนตรี หรือจากเสียง อาจเป็นรูปภาพ แผนภาพ แผนที่ ตัวอย่าง เช่น ข้อมูลด้านอุตสาหกรรม, ข้อมูลการวิจัยตลาด,ข้อมูลสำมโนประชากร, ข้อมูลการใช้พื้นที่, ข้อกำหนดของรัฐบาล, ตารางอัตราภาษี หรือข้อมูลเศรษฐกิจชาติ
3.ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) เป็นข้อมูลส่วนตัว จากความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านหรือความคิดเห็นของ ผู้ใช้ เป็นข้อมูลประจำตัวของผู้ตัดสินใจ ที่มีต่อเหตุการณ์หนึ่งๆ ได้แก่แนวทางในการตัดสินใจ หรือ ความกล้าใน การตัดสินใจ
ส่วนส่วนประกอบในระบบย่อยในการจัดการข้อมูลมี 4 ส่วน
โครงสร้างของระบบย่อยในการจัดการข้อมูล
1. ฐานข้อมูล (Database) เป็นกลุ่มของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งเป็นไปตามความต้องการและโครงสร้างขององค์กร และสามารถถูกใช้ได้โดยบุคคลหลายๆ คนและหลายๆ แอพพลิเคชั่น (application) ในระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลมากกว่าหนึ่งฐานข้อมูลได้ ขึ้นอยู่กับแหล่งข้อมูลที่มีข้อมูลที่ต้องการ ในระบบสนับสนุนการตัดสินใจขนาดเล็กสามารถใส่ข้อมูลโดยตรงลงในตัวแบบ หรือสามารถดึงข้อมูล (extract) ได้แก่การนำเข้าไฟล์ การสรุปข้อมูล การกรองข้อมูล และการย่อยข้อมูล จากฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่กว่ามาใช้ หรือใช้ข้อมูลจากคลังข้อมูล (data warehouse)ขององค์กรก็ได้ ส่วนในระบบสนับสนุนการตัดสินใจขนาดใหญ่มักจะรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลที่มาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ไว้เป็นของตนเอง
2. ระบบจัดการฐานข้อมูล ( Database Management System : DBMS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ในการสร้าง, เข้าถึง และปรับปรุงฐานข้อมูล โดยความสามารถของระบบจัดการฐานข้อมูลในระบบสนับสนุนการตัดสินใจ มีดังนี้
2.1 ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลของระบบสนับสนุนการตัดสินใจได้
2.2 ปรับปรุง (เพิ่ม ลบ แก้ไข เปลี่ยน) เรคอร์ดหรือแฟ้มข้อมูลได้
2.3 สร้างความสัมพันธ์ระหว่างแหล่งข้อมูลต่างๆ ได้
2.4 ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลเพื่อทำแบบสืบค้น(Query) และรายงานได้
2.5 สามารถจัดการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลได้
2.6 ผู้ใช้สามารถทำการทดลองข้อมูลที่ต้องการใช้ในการตัดสินใจได้
2.7 สามารถทำการสืบค้นที่ซับซ้อนได้
2.8 สามารถติดตามการใช้ข้อมูลใน DSS ได้
2.9 สามารถจัดการข้อมูลผ่านดิกชันนารีข้อมูล (Data Dictionary) ได้ โดยที่ดิกชันนารีข้อมูลใช้สำหรับแสดงคำจำกัดความของข้อมูล
3. ไดเรกทอรีข้อมูล (Data Directory) เป็นรายการข้อมูลทั้งหมดในฐานข้อมูล ประกอบด้วยคำจำกัดความของข้อมูล และการทำงานหลักที่ใช้ตอบคำถามเกี่ยวกับการมีอยู่ของข้อมูลนั้น แหล่งที่มาของข้อมูล และความหมายที่แท้จริงของข้อมูลนั้นๆ เป็นส่วนที่ช่วยสนับสนุนขั้นตอนการระบุปัญหา(intelligence) ในขบวนการตัดสินใจ โดยการช่วยตรวจหาข้อมูลและ ช่วยระบุปัญหาหรือโอกาสที่มี
4. สิ่งอำนวยความสะดวกในการสอบถามข้อมูล (Query Facility) เป็นส่วนที่ทำการเข้าถึง ใช้งาน และสืบค้นข้อมูลโดยรับคำร้องของข้อมูลจากส่วนประกอบต่างๆ ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ และพิจารณาว่าทำอย่างไรจึงจะได้ข้อมูลนั้น, กำหนดรายละเอียดของคำร้องขอ และส่งผลลัพธ์กลับไปยังผู้ร้องขอ หน้าที่สำคัญของระบบสืบค้นในระบบสนับสนุนการตัดสินใจ คือ การเลือกและการทำงานกับข้อมูล
ปัญญาประดิษฐ์ ( Artificial Intelligence : AI )
AI : Artificial Intelligence หรือปัญญาประดิษฐ์เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถคล้ายมนุษย์หรือเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ โดยเฉพาะความสามารถในการคิดเองได้ หรือมีปัญญานั่นเอง ปัญญานี้มนุษย์เป็นผู้สร้างให้คอมพิวเตอร์ จึงเรียกว่าปัญญาประดิษฐ์ มุมมองต่อ AI ที่แต่ละคนมีอาจไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่า เราต้องการความฉลาดโดย คำนึงถึงพฤติกรรมที่มีต่อสิ่งแวดล้อมหรือคำนึงการคิดได้ของผลผลิต AI ดังนั้นจึงมีคำนิยาม AI ตามความสามารถที่มนุษย์ต้องการให้มันแบ่งได้ 4 กลุ่ม ดังนี้
Acting Humanly : การกระทำคล้ายมนุษย์ เช่น
      - สื่อสารกับมนุษย์ได้ด้วยภาษาที่มนุษย์ใช้ เช่น ภาษาอังกฤษ เป็นการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language processing) อย่างหนึ่ง เช่น เพื่อน ๆ ใช้เสียงสั่งให้คอมพิวเตอร์พิมพ์เอกสารให้
      - มีประสาทรับสัมผัสคล้ายมนุษย์ เช่นคอมพิวเตอร์วิทัศน์ (computer vision) คอมพิวเตอร์มองเห็น รับภาพได้โดยใช้อุปกรณ์รับสัญญาณภาพ (sensor)
      - หุ่นยนต์ช่วยงานต่าง ๆ เช่น ดูดฝุ่น เคลื่อนย้ายสิ่งของ
      - machine learning หรือคอมพิวเตอร์เกิดการเรียนรู้ได้ โดยสามารถตรวจจับรูปแบบการเกิดของเหตุการณ์ใด ๆ แล้วปรับตัวสู่สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม (Group Decision Support Systems) เหตุการณ์มากมายที่เกิดขึ้นกับองค์กร จำเป็นต้องอาศัยการตัดสินใจร่วมกันเป็นกลุ่มซึ่งการตัดสินใจของคณะบริหารในอดีตที่ผ่านมานั้น ต้องมีการนัดประชุม ณ สถานที่แห่งเดียวกัน และในเวลาเดียวกันเท่านั้น ซึ่งต้องสิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่ายเป็นอย่างมาก อีกทั้งผลลัพธ์ของการประชุม ได้ไม่ดีเท่าที่ควร
การพัฒนา DSS ในช่วงแรกมีจุดประสงค์ เพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ ของผู้ใช้แต่ละคนในการตัดสินปัญหาต่างๆ ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1980 ได้มีนักวิชาการที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการหลายท่านริเริ่มแนวความคิดที่จะนำ DSS เข้ามาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่มหรือองค์การ เนื่องมาจากในปัจจุบันการตัดสินใจปัญหาส่วนใหญ่ภายในแต่ละองค์การมักจะใช้ความเห็นของคณะกรรมการหรือคณะทำงานเป็นหลัก เพราะปัญหาจะมีความซับซ้อน ทำให้บุคคลเพียงคนเดียวไม่สามารถพิจารณาอย่างรอบคอบและทำการตัดสินใจได้อย่างสมบูรณ์
ความหมายของระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม
Huber (1984) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม หมายถึง การผสมผสานการใช้งานระหว่าง ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ภาษา และกระบวนการเพื่อการสนับสนุนการประชุมกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจต่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง
DeSanctis, Gallupe (1987) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม หมายถึง ระบบที่มีปฏิสัมพันธ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้กลุ่มคนในเรื่องของการตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่ไม่มีโครงสร้าง ดังนั้น องค์ประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม จึงต้องประกอบด้วย ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ผู้ใช้ และกระบวนการที่ใช้สนับสนุนการดำเนินการประชุม จนสามารถทำให้การประชุมเป็นไปด้วยดี
          ดังนั้น ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม จึงต้องประกอบไปด้วยเครื่องมือชนิดอื่นๆ อีกมากมายที่จะอำนวยความสะดวกให้ผู้ร่วมตัดสินใจได้ เพิ่มความรวดเร็วในการตัดสินใจ และใช้งานร่วมกันได้
ลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม
1. เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบขึ้นโดยเฉพาะ ซึ่งไม่ใช่การนำองค์ประกอบต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว มาประยุกต์ใช้แต่จะต้องสร้างขึ้นมาใหม่จึงจะเรียกว่าเป็นระบบ GDSS
2. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม ถูกออกแบบมาโดยมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงกระบวนการตัดสินใจขององค์ประชุม
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจถูกออกแบบมาเพียงเพื่อต้องการแก้ปัญหาหาเฉพาะหน้า
หรือแก้ไขปัญหาทั่วไปก็ได้
4. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะต้องง่ายต่อการเรียนรู้ และใช้งานได้สะดวก อีกทั้งยังอาจให้
ความหลากหลายกับผู้ใช้ในแต่ละระดับที่เกี่ยวข้องกับความรู้การประมวลผล และการสนับสนุนการตัดสินใจ
5. มีกลไกที่ให้ผลในเรื่องการปรับปรุงจุดบกพร่องที่เกิดจกพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมประชุม เช่นการขจัดความขัดแย้งในที่ประชุม
6. ระบบจะต้องออกแบบให้มีความสามารถในการกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมต่างๆ เช่น กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
ระบบสนับสนุนสำหรับผู้บริหารระดับสูง ( Executive Information System : EIS )
          ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Information Systems) หรือที่เรียกว่า EIS หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ ทักษะ และความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร เนื่องจากผู้บริหารเป็นกลุ่มบุคคลที่ต้องการข้อมูลที่มีลักษณะเฉพาะ โดยเฉพาะด้านระยะเวลาในการเข้าถึงและทำความเข้าใจกับข้อมูล โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันทางธุรกิจที่เกิดขึ้นและปรับตัวอย่างรวดเร็วในปัจจุบันได้สร้างแรงกดดันให้ผู้บริหารต้องตัดสินใจภายใต้ข้อจำกัดของทรัพยากรทางการจัดการ ระยะเวลา ข้อมูล และการดำเนินงานของคู่แข่งขัน นอกจากนี้ผู้บริหารหลายคนยังมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี สารสนเทศที่จำกัด โดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงที่มีอายุมากและไม่มีโอกาสได้พัฒนาความรู้ ความเข้าใจ และทักษะด้านการใช้งานสารสนเทศ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาและออกแบบระบบสารสนเทศที่สามารถช่วยให้ผู้บริหารปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ระบบข้อมูลสำหรับผู้บริหารต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
คุณสมบัติของระบบ EIS
มีการใช้งานบ่อย
ไม่ต้องมีทักษะทางคอมพิวเตอร์สูง
ความยืดหยุ่นสูงสามารถเข้ากันได้กับรูปแบบการทำงานของผู้บริหาร
การใช้งานใช้ในการตรวจสอบ ควบคุม
การสนับสนุนการตัดสินใจไม่มีโครงสร้างแน่นอน
ผลลัพธ์ที่แสดงจะเป็นตัวอักษร ตาราง ภาพและเสียง รวมทั้งระบบมัลติมีเดีย
การใช้งานภาพกราฟิกสูง จะใช้รูปแบบการนำเสนอต่างๆ
ความเร็วในการตอบสนองรวดเร็วทันทีทันใด
ความสามารถทั่วไปของ EIS
การเข้าถึงดาต้าแวร์เฮาต์ (Data Warehouse) ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลสำหรับการตัดสินใจ ประกอบด้วยฐานข้อมูลจากงานในระดับปฏิบัติการ เช่น วัสดุคงคลัง และฐานข้อมูลภายนอก เช่น ลักษณะของประชากร
การใช้ความสามารถในการเจาะข้อมูล (Drill down) กล่าวคือ EIS จะประกอบด้วยการสรุปสารสนเทศเพื่อให้ผู้บริหารสามารถเจาลึกเพื่อกาสารสนเทศในรายละเอียดอีกครั้ง ดังนั้นการเจาะข้อมูลหมายถึง ความสามารถในการให้รายละเอียดของสารสนเทศ เช่น หากผู้บริหารสังเกตเห็นการลดลงของยอดขายในรายงานประจำสัปดาห์ผู้บริหารอาจต้องดูรายละเอียดของยอดขายในแต่ละภาคเพื่อต้องการหาเหตุผล ถ้าข้อมูลแสดงว่าภาคใดภาคหนึ่ง มีปัญหา ผู้บริหารอาจจะเจาะลงในรายละเอียดของการขายสินค้าแต่ละผลิตภัณฑ์ หรือยอดขายของพนักงานขายแต่ละคนก็ได้ การเจาะลึกของข้อมูลอาจทำได้ต่อเนื่องกันหลายระดับของข้อมูล การเจาะลึกดังกล่าวผู้บริหารสามารถทำไดเองโดยไม่จำเป็นองปรึกษากับโปรแกรมเมอร์แต่อย่างใด
การนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่มีความยืดหยุ่น ระบบ EIS จะมีการรายงานซึ่งมีความยืดหยุ่นกว่าระบบ MRS มาก กล่าวคือ ระบบ MRS จะมีการกำหนดสารสนเทศไว้ล่วงหน้า แต่ EIS จะเริ่มจากสิ่งที่ไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า และยังมีรูปแบบรายงานต่างๆ ให้ผู้บริหารได้เลือกอีก (แนวคิดเดียวกับแบบ drill down) ซึ่งช่วยให้ผู้บริหารสามารถ ได้ทราบสารสนเทศในเชิงลึกมากขึ้น และบางครั้งถึงกับออกแบบในลักษณะกราฟฟิคเอาไว้ด้วย ลักษณะการนำเสนอในแบบนี้เป็นข้อแตกต่างของ MRS และ EIS
 การเข้าถึงสารสนเทศที่หลากหลาย ระบบ EIS ช่วยให้ผู้บริหารสามารถเข้าถึง สารสนเทศได้ทุกประเภท ทั้งสารสนเทศจากภายในหน่วยงานและภายนอกหน่วยงานซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขององค์การด้วย
การใช้โมเดลในการวิเคราะห์แนวโน้ม (Trend analysis) การวิเคราะห์ข้อมูลอาจจำเป็นต้องทราบแนวโน้มในอนาคต โดยเฉพาะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในข้อมูล การวิเคราะห์แนวโน้มจะทำได้โดยใช้โมเดลการพยากรณ์ การวิเคราะห์แนวโน้ม เช่น ยอดขายจะมีการเพิ่มขึ้นหรือไม่ ส่วนแบ่งการตลาดจะลดลงหรือไม่
หน้าที่ของ EIS
1. ช่วยในการวางแผนกลยุทธ์ โดยประเมินและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและนำสารสนเทศที่ถูกต้องเป็นปัจจุบันมีความรวดเร็วและช่วยในการพิจารณาสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอก รวมทั้งทดสอบว่ากลยุทธ์ที่กำหนด ได้ผลหรือไม่ (Stair & Reynolds, 1999)
2. ช่วยในการควบคุมเชิงกลยุทธ์ (Strategic control) ซึ่งเกี่ยวกับการติดตาม และการจัดการการปฏิบัติขององค์การโดยการสร้างกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิผลโดยการระบุปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ปัญหา โอกาส หรือการเปลี่ยนแปลง เพื่อที่จะช่วยให้กระบวนการทำงานลื่นไหลไปได้ด้วยดี (Stair & Reynolds, 1999)
3. การสร้างเครือข่าย (Networks) เครือข่ายในที่นี้ หมายถึงบุคคลต่างๆ ทำงานร่วมกันในการบรรลุจุดมุ่งหมาย เครือข่ายนี้จะช่วยทำให้สารสนเทศที่เกี่ยวกับความคิดเห็นข้อสังเกต ข้อมูลหรือการเตือนภัยล่วงหน้าไหลติดต่อระหว่างสมาชิกในเครือข่าย
4. ช่วยในการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ระบบยังสามารถให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคู่แข่งทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศรวมทั้งสามารถในการจัดหาสินค้าของซัพพลายเออร์
5. ช่วยในการจัดการกับวิกฤต (Crisis management) แม้ว่าหน่วยงานจะมีการวางแผนกลยุทธ์ดีเพียงไร แต่บางครั้งวิกฤตที่ไม่คาดคิดอาจเกิดขึ้นได้ การจัดการวิกฤตเป็นหน้าที่ของผู้บริหารโดยตรง (Stair & Reynolds, 1999)
ข้อดีของระบบ EIS
1. ง่ายต่อผู้บริหารระดับสูงในการใช้งาน
2. การใช้งานไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์
3. ให้สารสนเทศสรุปของบริษัทในเวลาที่ต้องการ
4. ทำให้สามารถเข้าในสารสนเทศได้ดีขึ้น
5. มีการกรองข้อมูลให้ประหยัดเวลา
6. ทำให้ระบบสามารติดตามสารสนเทศได้ดีขึ้น
ข้อเสียของระบบ EIS
1. มีข้อจำกัดในการใช้งาน
2. อาจทำให้ผู้บริหารจำนวนมากรู้สึกว่าได้รับข้อมูลมากเกินไป
3. ยากต่อการประเมินผลประโยชน์ที่ได้จากระบบ
4. ไม่สามารถทำการคำนวณที่ซับซ้อนได้
5. ระบบอาจนะใหญ่เกินกว่าที่จะจัดการได้
6. ยากต่อการรักษาข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
7. ก่อให้เกิดปัญหาการรักษาความลับของข้อมูล

คำถมกรณีศึกษา 3 case

รายชื่อสมาชิก                                           นายสรศักดิ์                ประพันธ์อนุรักษ์         รหัสนักศึกษา 58127328003  ...