วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 6 E-commerce: DigitalMarkets, Digital Goods






E-commerce: DigitalMarkets, Digital Goods
          ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (E-business) หมายถึง การดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์และอินเตอร์เน๋ตเป็นสื่อกลาง โดยมีการประยุกต์ใช้ในทุกกิจกรรมของธุรกิจทั้งกิจกรรมส่วนหน้า และ กิจกรรมส่วนหลัง รวมทั้งการเชื่อมกับระบบการค้ากับองค์กรภายนอกด้วยมีการใช้เทคโนโลยีเครือข่ายและการสื่อสารทั้งในรูปแบบอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต และเอ็กซ์ทราเน็ต
         พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) หมายถึง การดำเนินการซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างธุรกิจ บุคคล ภาครัฐ และองค์การสาธารณะ โดยผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องติดต่อซื้อขายกันทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ระดับเทคโนโลยีพื้นฐาน เช่น โทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน
          โครงสร้างของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 3 โครงสร้าง

1.กิจกรรมส่วนหน้า เป็นกิจกรรมที่พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง ซึ่งหมายถึง ส่วนของการซื้อขาย หรือส่วนทิ่ติดต่อกับลูกค้าโดยตรงลูกค้าในที่นี้อาจจะหมายถึงผู้บริโภค ผู้นำเข้า หรือองค์กรธุรกิจ
2.กิจกรรมส่วนหลัง หมายถึงกิจกรรมธุรกิจที่เกิดต่อเนื่องจากส่วนแรก เพื่อนำข้อมูลจากากรสั่งซื้อของลูกค้ามาประมวลผลภายในองค์กรได้แก่ การตรวจสอบสินค้า การเบิกสินค้า การสั่งบรรจุหีบห่อ การสั่งผลิต เป็นต้น
3.กิจกรรมกับองค์กรภายนอก หมายถึงกรรมที่ต่อเนื่องจากกิจกรรมส่วนหลัง เพื่อทำกิจกรรมทางธุรกิจติดต่อกับองค์กรภายนอก เช่น ผู้ขายวัตถุดิบ บริษัทขนส่ง และธนาคาร ทั้งนี้ใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เป็นระบบเครือข่ายสาธารณะ หรือระบบเครือข่ายเฉพาะกลุ่มซึ่งมีความปลอดภัยมากกว่านี้ได้
ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1.เพิ่มความสะดวกสบายและความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า เช่น ลูกค้าสามารถรับรู้ว่าสินค้าอยู่ตรงไหน รับรู้ข้อมูลของตัวสินค้าการจัดจำหน่าย โดยที่สามารถรับรู้ได้โดยทันทีไม่ต้องเสียเวลากับการรอคอยหรือไปดูสินค้าจริงๆ
2.เพิ่มความรวดเร็วและถูกต้องในการดำเนินงานธุรกิจเช่น มีการรับส่งสินค้ารวดเร็ว ลูกค้าสามารถตรวจสอบได้เลยว่าสินค้าอยู่ตรงไหน ถึงไปยังปลายทางเมื่อไหร่ ซึ่งไม่ต้องเสียเวลาในการค้นหาด้วยวิธีอื่นๆ
3.เพิ่มความรวดเร็วและถูกต้องในการทำงานขององค์กร เช่น การทำธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้การทำงานขององค์กรมีความรวดเร็วในการทำงานมากยิ่งขึ้น ลดระยะเวลาจัดเก็บเอกสารในรูปแบบกระดาษและการใช้อิเล็กทรอนิกส์มาจัดการกับธุรกิจทำให้การทำงานของคนในองค์กรมีความถูกต้องในการจัดการเอกสารมากยิ่งขึ้น
4.ลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ เช่น การลดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร ลดค่าใช้จ่ายของสำนักงาน อาทิเช่น กระดาษ จดหมาย เป็นต้น
5.เพิ่มช่องทางในการขยายตลาด เช่น การเปิดร้านค้าออนไลน์ ซึ่งสามารถให้บริการกับลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง สามารถขายสินค้าได้อย่างกว้างขวางและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
กรอบการทำงานของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
     1.การประยุกต์ใช้ (E-Commerce Application)
     2.โครงสร้างพื้นฐาน (E-Commerce Infrastructure)
     3.การสนับสนุน (E-Commerce Supporting)
     4.การจัดการ (E-Commerce Management)
1. การประยุกต์ใช้ E-Commerce Application
            - การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ E-Retailing
            - การโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์ E-Advertisement
            - การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ E-Auctions
            - การบริการอิเล็กทรอนิกส์ E-Service
            - รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ E-Government
            - การพาณิชย์ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ M-Commerce : Mobile Commerce
2. โครงสร้างพื้นฐาน E-Commerce Infrastructure
            องค์ประกอบหลักสำคัญด้านเทคโนโลยีพื้นฐาน ที่จะนำมาใช้เพื่อการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่
1.       ระบบเครือข่าย Network System
2.       ช่องทางการติดต่อสื่อสาร  Communication Channel
3.       การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา Format and Content Publishing
4.       การรักษาความปลอดภัย Security
3. การสนับสนุน E-Commerce Supporting
            ส่วนของการสนับสนุน  จะทำหน้าที่ช่วยเหลือและสนับสนุนส่วนของการประยุกต์ใช้งานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เปรียบเสมือนเสาหลักของบ้าน  ที่ทำหน้าที่ค้ำจุนให้หลังคาบ้าน  อย่างไรก็ตามเสาบ้านก็ต้องอาศัยพื้นบ้านในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานเพื่อที่จะยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงต่อไป  สำหรับส่วนสนับสนุนของ E-Commerce มีองค์ประกอบ 5 ส่วน ดังนี้
         1.การพัฒนาระบบงาน E-Commerce Application Development
         2.การวางแผนกลยุทธ์ E-Commerce Strategy
         3.กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce Law
         4.การจดทะเบียนโดเมนเนม Domain Name Registration
         5.การโปรโมทเว็บไซต์ Website Promotion
ปัจจัยที่ทำให้ E-Commerce ประสบความสำเร็จการนำ E-commerce  ไปใช้ในธุรกิจจำเป็นต้องมีสารสนเทศที่ถูกต้อง  มีโครงสร้างพื้นฐาน  และมีระบบสนับสนุน  ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จมี 5 อย่างดังนี้
-          คน (People)  หมายถึง ผู้ขาย  ผู้ซื้อ  คนกลาง  พนักงาน IT  EC พนังงานผู้ใช้ระบบและอื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
-          นโยบายสาธารณชน  หมายถึง กฎหมาย  ภาษี และนโยบายหลักๆ ที่สำคัญ เช่น  สิทธิส่วนบุคคล  ที่ถูกกำหนดด้วยรัฐบาล  ในที่นี้นโยบายจะรวมถึงมาตรฐานด้านเทคนิค และ โปรโตคอล (Protocol)
-          การตลาด และการโฆษณาประชาสัมพันธ์   เว็บไซต์เป็นสิ่งสำคัญเพื่อใช้ติดต่อกับลูกค้า  และทำธุรกิจค้าขาย  รวมถึงการมองหาตลาดแหล่งใหม่ ๆ  และกลยุทธ์ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์
-          พันธมิตรธุรกิจ  E-commerce  ถูกนำมาใช้ในการบริหาร Supply Chain  หรือ ระหว่างคู่ค้า และพันธมิตรทางการค้า
-          บริการสนับสนุนอื่น   สิ่งสำคัญ คือการวิจัยตลาด   การสร้างเนื้อหา  และการบริการอื่น ๆ  เพิ่มเติม
 4. การจัดการ E-Commerce Management หมายถึง การวิเคราะห์ถึงองค์ประกอบของแบบจำลองทางธุรกิจ เพื่อกำหนดรูปแบบของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่คาดว่าจะสร้างผลกำไรให้กับองค์กรได้อย่างเหนือคู่แข่งขัน และสร้างมูลค้าเพิ่มของธุรกิจให้มากขึ้น
-          การพัฒนาระบบงานพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-commerce Application ประกอบด้วย การวางแผน การวิเคราะห์ระบบ การออกแบบระบบ การสร้างระบบ
-          การวางแผนกลยุทธ์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-commerce Strategy เป็นกลยุทธ์ที่แต่ละหน่วยธุรกิจขององค์กรจัดทำขึ้นตามเป้าหมายของธุรกิจ ประกอบด้วย แผนงาน วิธีการนำไปใช้
-          การจดทะเบียนชื่อโดเมน Domain Name Registration เป็นการจดทะเบียนชื่อโดเมนให้กับเว็บไซต์ เปรียบเสมือนชื่อของเจ้าของ
-          การโปรโมทเว็บไซต์ Web Site Promotion เป็นการทำให้ผู้คนรู้จักเว็บไซต์ขององค์กรและเพิ่มจำนวนผู้เข้าขมเว็บไซต์เพื่อเป็นโอกาสเพิ่มช่องทางทางธุรกิจให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
รูปแบบการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แบ่งได้เป็น 3 มิติได้แก่ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และตัวแทนการส่งมอบสินค้าอาจแบ่งรูปได้เป็น 2 ลักษณะดังนี้
1.พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบเต็มรูปแบบ Pure E-Commerce or Virtual Pure Play Organizations คือการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในรูปแบบดิจิทัลทุกขั้นตอน ตั้งแต่การซื้อสินค้าหรือบริการ การชำระเงิน
2.พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบบางส่วน (Partial E-commerce) คือธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่บางครั้งยังใช้ลักษณะทางกายภาพอยู่เช่น การสั่งซื้อหนังสือ ขั้นตอนอาจเป็นกายภาพหรือดิจิทัลก็ได้
     1.Brick-and-mortar
คือ องค์กรที่มีผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และ การจัดส่ง ผลิตภัณฑ์ อยู่ในรูปของกายภาพทั้งหมด เช่น ร้านขายหนังสือ มีหนังสือเป็นเล่มที่สามารถจับต้องได้ การซื้อขายก็เป็นกายภาพ  การจัดส่งก็เป็นแบบ กายภาพ จะเห็นว่าทุกมิติเป็นกายภาพทั้งสิ้น อย่างนี้ เราเรียกองค์กรแบบนี้ว่าเป็น Purely Physical และ เรียกองค์กรนี้ว่าPurely Physical Organization หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Brick-and-Mortar Organization ซึ่งในปัจจุบันนี้ องค์กรประเภท Brick-and-Mortar กำลังปรับเปลี่ยนรูปแบบ ไปเป็นClick-and-Mortar โดยการเพิ่มในส่วนของการสั่งซื้อสินค้า online เข้าไป
     2. Click-and-Mortar คือ องค์กรที่ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และ ตัวแทนจำหน่าย มีการผสมผสาน ทั้งแบบกายภาพหรือดิจิตอล เข้าด้วยกัน (Physical or digital) เช่น ร้านดอกไม้ Miss Lily ที่มีการสั่งซื้อเป็นแบบ Online ตัวสินค้าและการจัดส่งเป็นทางกายภาพ
     3. Click-and-Click องค์กรเสมือน (Virtual organization) คือ องค์กรที่มี ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และ ตัวแทนจำหน่าย เป็นดิจิตอลทั้งหมด บางทีเรียกว่าpure – play organization เป็นการทำธุรกิจแบบ online ล้วน ๆ ไม่มีออฟฟิศหรือ Storeให้เดินเข้าไปซื้อของ
ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ธุรกิจกับธุรกิจ ( Business to Business : B to B ) หมายถึง ธุรกิจที่มุ่งเน้นการให้บริการแก่ผู้ประกอบการด้วยกันโดยอาจเป็นผู้ประกอบการในระดับเดียวกัน  หรือระดับต่างกันก็ได้ เช่น ผู้ผลิตกับผู้ผลิต ผู้ผลิตกับผู้ส่งออก ผู้ผลิตกับผู้นำเข้า ผู้ผลิตกับผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีก เป็นต้น
ธุรกิจกับผู้บริโภค ( Business to Consumer : B to C ) หมายถึงธุรกิจที่เน้นบริการกับลูกค้าหรือผู้บริโภค เช่น การขาย สินค้าอุปโภคบริโภค
ผู้บริโภคกับผู้บริโภค ( Consumer to  Consumer : C to C ) หมายถึง ธุรกิจระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค ซึ่งเป็นการค้ารายย่อย เช่น การขายของเก่าให้กับบุคคลอื่นๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต
ผู้บริโภคกับผู้ประกอบการ ( Consumer to Business : C to B )  หมายถึง เป็นการทำธุรกรรมการค้าระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการ
รัฐบาลกับผู้บริโภค ( Government to Consumer : G to C ) หมายถึง เป็นการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งในประเทศไทยก็มีการให้บริการหลายหน่วยงาน เช่น การเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ตการให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเตอร์เน็ตการติดต่อทำทะเบียนต่างๆ ของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการทำเรื่องนั้นๆและสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์ม บางอย่างจากบนเว็บไซต์ได้
 ประเภทของเว็บไซต์อิเล็กทรอนิกส์
1. เว็บไซต์แคตตาล็อกสินค้าออนไลน์ (Online Catalog Web Site)
เป็นรูปแบบจัดทำเว็บไซต์ E-Commerce ในรูปแบบแคตตาล็อกออนไลน์ ที่มีรูปภาพและรายละเอียด สินค้าพร้อมที่อยู่เบอร์โทรติดต่อ ไม่มีระบบการชำระเงินผ่านทางเว็บไซต์ หรือระบบช้อปปิ้งการ์ด (ตะกร้าสินค้าออนไลน์) โดยหากผู้สนใจสินค้าก็เพียงโทรสอบถามและสั่งซื้อสินค้าได้ ซึ่งเป็นการใช้เว็บไซต์เป็นเหมือนโบรชัวร์หรือแคตตาล็อกออนไลน์ เพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้ามาเลือกดูรายละเอียดสินค้าและราคาได้ จากทั่วประเทศหรือทั่วโลกผ่านทางเว็บไซต์ ข้อดีของเว็บแบบนี้คือ สร้างได้ง่ายเหมาะกับการค้าในพื้นที่หรือประเทศเดียวกัน ข้อเสียคือ ไม่สามารถขายและรับเงินได้ทันทีจากลูกค้า ที่ต้องการชำระเงินผ่านเว็บไซต์ซึ่งโดยส่วนใหญ่กว่า 70% ของเว็บไซต์ E-Commerce ในประเทศไทยจะเป็นเว็บไซต์ในลักษณะนี้ เพราะด้วย รูปแบบเว็บไซต์สามารถจัดทำได้ง่าย ไม่มีความซับซ้อนมากนัก ทำให้สามารถเริ่มต้นทำได้ง่าย เช่น www.PlatinumPDA.com
2. ร้านค้าออนไลน์ (E-Shop Web Site)
เป็นรูปแบบเว็บไซต์ E-Commerce สมบูรณ์แบบ ที่มีทั้งระบบการจัดการสินค้า ระบบตะกร้าสินค้า (Shopping Cart) ระบบการชำระเงิน รวมถึงการขนส่งสินค้า ครบสมบูรณ์แบบ ทำให้ผู้ซื้อสามารถสั่งซื้อสินค้าและทำการชำระเงินผ่านเว็บไซต์ได้ทันที โดยการชำระเงินส่วนใหญ่สามารถชำระเงินผ่าน บัตรเครดิต เป็นส่วนมากในการจัดทำเว็บไซต์ลักษณะนี้ จะต้องมีระบบหลายๆ อย่างประกอบอยู่ภายใน ทำให้มีความซับซ้อนและมีรายละเอียดในการจัดทำค่อนข้างมาก แต่ตอนนี้ก็มีเว็บไซต์ E-Commerce สำเร็จรูป ที่พร้อมใช้บริการและมีทุกอย่างพร้อมสรรพ ทำให้สามารถเริ่มต้นทำเว็บลักษณะนี้ได้อย่างรวดเร็ว  หากท่านสนใจ ร้านค้าออนไลน์ สามารถสมัครใช้บริการฟรี ได้ที่ www.TARADquickwe.com
3. การประมูลสินค้า (Auction)
เป็นเว็บไซต์ E-Commerce ที่มีรูปแบบของการนำสินค้าของไปประมูลขายกัน โดยจะเป็นการแข่งขันใน การเสนอราคาสินค้า หากผู้ใดเสนอราคาสินค้าได้สูงสุดในช่วงเวลาที่กำหนด ก็จะชนะการประมูลและสามารถซื้อสินค้าชิ้นนั้นไปได้ ด้วยราคาที่ได้กำหนดไว้ โดยส่วนใหญ่สินค้าที่นำมาประมูล หากเป็นสินค้าใหม่ ซึ่งหลังการประมูลสินค้าจะมีราคาที่ไม่สูงกว่าราคาท้องตลาด ยกเว้นสินค้าเก่า บางประเภท หากยิ่งเก่ามากยิ่งมีราคาสูง เช่น ของเก่า ของสะสม เป็นต้น เช่น http://auction.tarad.com, www.ebay.com
 4.การประกาศซื้อ-ขาย (E-Classified)
เป็นรูปแบบเว็บไซต์ E-Commerce ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจประกาศความต้องการ ซื้อ-ขาย สินค้าของตนได้ภายในเว็บไซต์ โดยเว็บไซต์จะทำหน้าที่เหมือนกระดานข่าวและตัวกลางในการแสดงข้อมูลสินค้าต่างๆ และหากมีคนสนใจสินค้าที่ประกาศไว้ ก็สามารถติดต่อตรงไปยังผู้ประกาศได้ทันทีจากข้อมูลที่ประกาศอยู่ภายในเว็บไซต์ โดยส่วนใหญ่จะมีการแบ่งหมวดหมู่ของประเภทสินค้าเอาไว้ เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าไปเลือกซื้อ-ขายสินค้าในเว็บไซต์ เช่น www.ThaiSecondhand.com การซื้อขายรูปแบบนี้ ผู้ขายไม่จำเป็นต้องมีเว็บไซต์ของตัวเองเลย แค่อาศัยพื้นที่ของเว็บที่เปิดโอกาสให้ประกาศขายของ ก็สามารถเริ่มต้นการค้าขายได้แล้ว ข้อดีเริ่มต้นได้ง่ายทันที ฟรี ข้อเสียคือไม่เหมาะกับผู้ที่มีสินค้าเป็นจำนวนมากๆ
5. ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace)
เป็นเว็บไซต์ E-Commerce ที่มีรูปแบบเป็นตลาดนัดขนาดใหญ่ โดยภายในเว็บไซต์จะมีการรวบรวมเว็บไซต์ของร้านค้าและบริษัทต่างๆ มากมาย โดยมีการแบ่งหมวดหมู่ของสินค้าเอาไว้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าไป ดูสินค้าภายในร้านค้าต่างๆ ภายในตลาดได้อย่างง่ายดายและสะดวก โดยรูปแบบของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ บางแห่งมีการแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบ ตามลักษณะของสินค้าที่มีอยู่ภายในตลาดแห่งนั้น เช่น ตลาดสินค้าทั่วไป www.TARAD.com เว็บไซต์ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับอาหาร www.FoodMarketExchange.com เว็บไซต์ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ของสินค้า OTOP อย่าง www.thaitambon.com เป็นต้น
หลักการตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
          1.ผลิตภัณฑ์ (Product) ธุรกิจมีองค์ประกอบหลักซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอย่างแรก คือ ผลิตภัณฑ์สินค้า (Goods) หรือบริการ (Service) สำหรับในส่วนสินค้านั้นแบ่งออกเป็น สินค้าประเภทจับต้องได้ และสินค้าประเภทจับต้องไม่ได้ สำหรับการบริการนั้นแบ่งออกเป็น บริการแบบมีส่วนร่วม และการบริการแบบไม่มีส่วนร่วม ดังนั้นสินค้า และบริการจึงนับได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจอย่างแท้จริง โดยต้องมีคุณลักษณะสำคัญ คือ คุณภาพ (Quality) สำหรับในส่วนของคุณภาพนั้นยังมีความหมายรวมถึง ด้านความเหมาะสมในการใช้งาน คุณภาพการออกแบบ และคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้อีกด้วย นอกจากนั้นคุณภาพยังเป็นตัวบ่งชี้สำคัญถึงภาพลักษณ์ของธุรกิจเราอีกด้วย
          2.ราคา (Price) การกำหนดราคานับว่าเป็นกลยุทธ์สำคัญอีกอย่างหนึ่งของการดำเนินธุรกิจ โดยมักจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ขนาดของตัวธุรกิจ ประเภทของสินค้าที่ต้องการจำหน่าย ค่าใช้จ่ายต่างๆ สิ่งแวดล้อมทางการตลาด กฎหมาย ความเปลี่ยนแปลกของราคาวัตถุดิบ หรือแม้แต่ระบบการจัดจำหน่าย ต้นทุนการผลิต และการส่งเสริมการขาย เป็นต้น
          3.ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place)การนำสินค้าไปให้ถึงมือของลูกค้า โดยยึดหลักความมีประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความปลอดภัย และความรวดเร็ว วิธีขายหรือกระจายสินค้าที่สามารถทำให้เกิดผลกำไรมากที่สุด ต้องกระจายสินค้าให้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด หากเป็นสินค้าที่ขายไปหลายๆ แห่งวิธีการขาย หรือการกระจายสินค้านั้นจะมีความสำคัญมาก โดยหลักการของการเลือกวิธีกระจายสินค้านั้นไม่ใช่ขายให้มากสถานที่ ที่สุดจะดีเสมอ เพราะมันขึ้นอยู่กับว่า สินค้าของท่านคืออะไร และกลุ่มเป้าหมายท่านคือใคร
          4.การส่งเสริมการขาย (Promotion)ความสำเร็จทางด้านธุรกิจ คือ การขายสินค้า หรือบริการให้ได้มากที่สุด แต่มักจะปัญหาว่าต้องทำอย่างไร การส่งเสริมการขาย จึงมีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้ยอดขายเพิ่มมากขึ้น กิจกรรมดังกล่าวประสบความสำเร็จ และมีประสิทธิภาพเมื่อธุรกิจทราบว่าลูกค้าต้องการอะไร มีรสนิยมแบบไหน เพื่อที่จะสามารถสร้างโปรโมชั่นที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้โดยตรง แต่การส่งเสริมการขายนั้นมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับงบประมาณ ด้านค่าใช้จ่ายอย่างมาก และควรจะต้องพยายามให้ได้ผลลัพธ์กลับคืนอย่างคุ้มค่าที่สุด ซึ่งมีอยู่หลายวิธีที่สามารถช่วยได้ทั้งทางตรง และทางอ้อม
การโฆษณา (Advertsing) อาจจะใช้คำพูด หรือข้อความ โดยมีความหมายที่จะให้ลูกค้ามีความรู้สึกดีต่อต่อสินค้า หรือบริการนั้น รวมทั้งจูงใจให้เกิดความต้องการอยากทดลองสินค้า หรือบริการของเรา
การส่งเสริมการขายทางด้านลูกค้า (Consumer Promotion) เป็นรูปแบบในการสร้างสิ่งดึงดูดใจให้กับตัวลูกค้าโดยตรง เช่น การลด แลก แจก แถม หรือการเล่นเกมเพื่อชิงรางวัล เป็นการกระตุ้นให้ลุกค้าเกิดความสนใจ และมีความหวังในประโยชน์ที่ได้รับจากตัวสินค้า หรือบริการของเรา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คำถมกรณีศึกษา 3 case

รายชื่อสมาชิก                                           นายสรศักดิ์                ประพันธ์อนุรักษ์         รหัสนักศึกษา 58127328003  ...